Page 20 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       4-1


                                                          บทที่ 4


                                 การใช้ที่ดินบนพื้นที่สูงโดยการจัดท าขั้นบันไดเพื่อการเกษตร


                         โสภณ ชมชาญ และคณะ (2563:  5-16)  ได้ทบทวนกรณีตัวอย่างในพื้นที่สูงหรือภูเขาของประเทศต่างๆ
                  มีการก่อสร้างหรือปรับพื้นที่เป็น “นาขั้นบันได” มาเป็นเวลาช้านาน นาขั้นบันไดที่เป็นแหล่งผลิตพืชอาหาร
                  ในอดีตมาอย่างต่อเนื่อง ได้เพิ่มบทบาทต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
                         นาขั้นบันได เป็นการอนุรักษ์ดินและน้้าในพื้นที่ที่มีความลาดชันให้พ้นจากการชะล้างพังทลายของ

                  ดินและดินถล่ม เป็นการใช้ที่ดินที่ยั่งยืนบางพื้นที่ได้ก่อสร้างและใช้มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง 2,000 ปี
                  การทบทวนวรรณกรรมในหัวข้อนี้จะอธิบายเป็นกรณีตัวอย่างในประเทศต่างๆ รวม 5 ประเทศ คือ (1) เปรู
                  (2) ญี่ปุ่น (3) สาธารณรัฐประชาชนจีน (4) เวียตนาม และ (5) ฟิลิปปินส์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                         (1) เปรู

                         อารยธรรมอินคา (Inca) เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศักราช 140 0 -1532 (Pringle, 2011: 42)
                  บนเทือกเขาแอนดีส ที่อยู่ในพื้นที่ประเทศเปรูในปัจจุบัน อารยธรรมอินคามีความรุ่งเรืองจากการเกษตรที่มี
                  การก่อสร้างเป็นนาขั้นบันได (Terrace) เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน จัดท้าระบบชลประทาน

                  มีการปลูกมันฝรั่ง มันเทศ ข้าวโพด พริก มะเขือเทศ ถั่วลิสง โอคา (oca) ควินัว (quinoa) และฝ้าย มีการ
                  เลี้ยงสัตว์คือ Ilamas และ Alpacas มีการก่อสร้างยุ้งฉาง อารยธรรมอินคารุ่งเรืองอยู่ประมาณ 100 ปี
                  ก็ล่มสลายลง เมื่อถูกรุกรานจากสเปน ซึ่งได้เข้ามาครอบครองอาณาจักรอินคาและเริ่มท้าการปศุสัตว์ในเวลา
                  ต่อมาโดยปราศจากการอนุรักษ์ดินและน้้า ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของดินจนล่มสลายในเวลาต่อมา

                  (Juo and Wilding, 2001:15) จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ส้ารวจพบหลังจากการล่มสลายในปี ค.ศ.1911
                  (พ.ศ. 2454) คือ “ภูเขาโบราณหรือ Machu Pichu” ซึ่งเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกและขึ้นทะเบียน
                  เป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก ปรากฏให้เห็นว่ายังคงสภาพพื้นที่การเกษตรที่ก่อสร้างไว้ในลักษณะ
                  ขั้นบันได (Pringle,  2011: 60)

                         Rodriguez (2002: 32-34) ได้รายงานไว้ว่าในประเทศเปรูยังคงมีขั้นบันไดเพื่อการเกษตร
                  (Agricultural  terraces)  อยู่มากกว่า 3.125 ล้านไร่ ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดง ให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของ
                  อารยะธรรมการเกษตรในอดีตว่าพื้นที่ที่ก่อสร้างเป็นนาขั้นบันไดเป็นรากฐานของความมั่นคงทางอาหารของ
                  ชาวอินคา ขั้นบันไดท้าให้มีทั้งดินและน้้าที่เหมาะสมในการผลิต ข้าวโพด มันฝรั่งและพืชอื่นๆ ซึ่งรองรับและ

                  เก็บกักน้้าจากพื้นที่สูงชันตอนบน อย่างไรก็ตามมีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ได้น้ามาใช้ในการปลูกพืชในปัจจุบัน
                  ส่วนที่เหลือได้ ทิ้งร้างไว้เป็นเวลานาน โครงการฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรที่เป็นนาขั้นบันไดโดยองค์การ
                  ภาคเอกชนชื่อ “Cusichaca  Trust”  ที่ได้เข้ามาด้าเนินการฟื้นฟูให้น้ามาใช้เพื่อการเกษตรจึงได้เกิดขึ้นอีก
                  ครั้งหนึ่งเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินและอนุรักษ์อารยะธรรมการเกษตรในอดีตเอาไว้ ซึ่งได้ด้าเนินการแล้ว

                  เสร็จพร้อมกับมีการปลูกพืชแล้วจ้านวนหนึ่ง และมีแผนด้าเนินการต่อไปในอนาคต

                         (2) ญี่ปุ่น
                         นาขั้นบันไดในประเทศญี่ปุ่นมีจ้านวนมากที่ส้าคัญที่จะกล่าวถึงเป็นตัวอย่างมี 3 แห่ง คือ

                                (1) Shiroyone Senmaida ใน Ishikawa Prefecture.
                                นาขั้นบันได Shiroyone Senmaida ตั้งอยู่ในจังหวัด อิชิคาวา มีจ้านวนนา 1,004 แปลง
                  ที่ก่อสร้างบนพื้นที่ลาดชันได้รับการคัดเลือกเป็น “หนึ่งในร้อยนาขั้นบันไดในประเทศญี่ปุ่น” และในเดือน มิถุนายน
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25