Page 6 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       1-1



                                                         บทที่ 1

                                                ที่ดินกับอารยธรรมเกษตร

                       ความเจริญรุ่งเรืองและการล่มสลายของสังคมเกษตรในอดีตที่ปรากฎในประวัติศาสตร์นั้นล้วนแล้วแต่
               มีความเชื่อมโยงกับการใช้ที่ดินทั้งสิ้น ที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นที่ราบสองฝั่งแม่น้้าที่ส้าคัญในทวีปต่างๆ

               ของโลกได้สร้างความรุ่งเรืองให้กับสังคมเกษตรในช่วงเริ่มต้น เช่น อารยธรรมเกษตรของเมโสโปเตเมีย
               หรือบาบิโลน อียิปต์ อินเดีย และจีน เกิดขึ้นริมสองฝั่งแม่น้้าสายหลักของแต่ละทวีป ในทวีปยุโรป กรีก
               และโรมันได้อาหารจากที่ดินที่อุดมสมบูรณ์รอบทะลเมดิเตอร์เรเนียน สังคมเกษตรของแอซแทค อินคาและ

               มายา เกิดขึ้นบนดินภูเขาไฟที่อุดมสมบูรณ์ในทวีปอเมริกาใต้ สังคมเกษตรอื่นๆก็ได้เกิดขึ้นภายหลัง เช่น ที่ราบ
               ปากแม่น้้าโขงแม่เจ้าพระยา ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสองฝั่งแม่น้้าดานูบ ไรน์ เอลเบ โวลกา เทมส์
               ในทวีปยุโรป รวมทั้งสองฝั่งแม่น้้ามิสซิสซิปปี้ มิสซูรีในทวีปอเมริกาเหนือ ความเสื่อมโทรมของที่ดินในพื้นที่
               สังคมเกษตรเหล่านี้ บางพื้นที่ได้เสื่อมโทรมจากการใช้ที่ดินผิดพลาด เช่น การตัดไม้ท้าลายป่าบนพื้นที่สูงซึ่งเป็น

               ต้นน้้าล้าธารส่งผลให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน อุทกภัย และการตื้นเขินของแหล่งน้้าในพื้นที่ตอนล่าง
               จึงได้ล่มสลายลงในช่วงเวลาต่อมา
                       สังคมอุตสาหกรรมในปัจจุบันได้เพิ่มความกดดันต่อการใช้ทรัพยากรที่ดินของโลก เริ่มต้นด้วยการ
               ขยายตัวของเมืองเข้าสู่พื้นที่การเกษตรที่เหมาะสม มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ผลิตกระแสไฟฟ้าและส่งน้้า

               ให้กับพื้นที่ราบที่มีดินอุดมสมบูรณ์ เพื่อผลิตอาหารให้พอเลี้ยงประชาชนโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตลอดจนใช้
               แหล่งพลังงานฟอสซิลแทนแรงงานคน ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สร้างปัญหาหลายประการแก่ระบบนิเวศของโลก
                       ในขณะเดียวกันการใช้ที่ดินที่เข้มข้นจะส่งผลให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินบนพื้นที่สูง เกิดดินเค็ม
               ในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ชลประทาน และมีพื้นที่ทิ้งร้างจากความเสื่อมโทรมของดินจ้านวนมาก

                       หลังจากมนุษย์ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งและเริ่มต้นสังคมเกษตร หรืออารยธรรมเกษตรหลายพันปี
               มาแล้วจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เร่งรัดการผลิตการเกษตร ได้เกิดค้าถามหลักขึ้นว่า “วิธีไหนดีที่สุดใน
               การจัดการทรัพยากรที่ดินเพื่อคงไว้ซึ่งการด ารงชีวิตที่ดีของมนุษย์ในรุ่นต่อไป และยังคงรักษาระบบนิเวศ

               บนโลกที่จะรองรับและโอบอุ้มการด ารงชีพของมนุษย์ในอนาคต” ได้มีการแสวงหาค้าตอบต่อค้าถามเหล่านี้
               จนมีข้อยุติหลายประการ
                       ในเอกสารฉบับนี้ได้มุ่งเน้นไปที่บริบทซึ่งเป็นหนึ่งในค้าถามที่มีข้อยุติและมีการปฏิบัติเพื่อป้องกัน
               การล่มสลายของมนุษย์ชาติและอารยธรรมเกษตรมานานมากกว่าสองพันปี คือ


                                                    “การอนุรักษ์ดินและน  า”
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11