Page 9 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       2-2


                  ชลประทาน สาเหตุดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างคน 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์บนพื้นที่ภูเขา
                  และเกษตรกรในพื้นที่ราบ เป็นเวลาเกือบ 13 ศตวรรษ ในพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์แต่ดินตื้นในพื้นที่

                  ดอนได้ถูกชะล้างลงมาทับถม พื้นที่เมืองและไร่นาเบื้องล่างหนาถึง 4 เมตร นักวิทยาศาสตร์และนัก
                  โบราณคดีได้บันทึกความแตกต่างของชั้นดิน ชั้นต่างๆ รวมทั้งชั้นตะกอนล าน้ าเดิม ซึ่งส่งผลกระทบต่อ
                  เกษตรกรในพื้นที่ราบ
                         Lowdermilk (1953 : 5) ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า

                         เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ได้มีการขุดคลองชลประทานเพิ่มขึ้นและห่างจากแม่น้ า (ไทกริส และยูเฟรติส)
                  มากขึ้น ระบบชลประทานดังกล่าวนี้ ต้องมีการขุดลอกตะกอนที่ทับถมในคลองชลประทาน แต่เนื่องจากมี
                  การเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองพื้นที่ดังกล่าวนี้บ่อยครั้ง ท าให้การขุดลอกตะกอนในคลองชลประทานที่ส่งน้ า
                  ให้แก่พื้นที่มากถึง 21,000 ตารางไมล์ (33,993,750 ล้านไร่) หยุดชะงักลง ส่งผลให้เกิดการตื้นเขินของคลอง

                  ชลประทาน ท าให้ไม่สามารถท าการเกษตรได้ความรุ่งเรืองของอาณาจักรจึงล่มสลายลง และเกิดหายนะครั้ง
                  แล้วครั้งเล่าจากอุทกภัย

                         2.1.2 อารยธรรมอียิปต์

                         แม่น้ าไนล์เกิดจากแม่น้ าสองสายที่ไหลมารวมกันคือแม่น้ าไนล์สีน้ าเงิน (Blue Nile) ที่มีต้นน้ าคือ
                  ทะเลสาปทานา (Tana) ในประเทศเอธิโอเปีย และแม่น้ าไนล์สีขาว (White Nile) จากประเทศยูกานดา แม่น้ า
                  ทั้งสองสายมาบรรจบกันที่เมือง คาร์ทูม (Kharturm) ในประเทศซูดาน แล้วไหลงลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แม่น้ า
                  ไนล์มีความยาว 6,695 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดในโลก ความยาวของแม่น้ าไนล์ครึ่งหนึ่งไหลผ่านทะเลทรายซา

                  ฮารา (Igloobooks, 2012: 82)
                         อารยธรรมอียิปต์เกิดขึ้นในบริเวณปากแม่น้ า และสองฝั่งแม่น้ าไนล์ที่อุดมสมบูรณ์จากตะกอน
                  ล าน้ า ซึ่งน าธาตุอาหารพืชมาจากภูเขาในประเทศเอธิโอเปีย และยูกานดา ความเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นจาก
                  การเกษตรเป็นเวลานานถึง 6,000 ปี มีการปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ ในอดีตพื้นที่ภูเขาของต้นน้ าไนล์

                  ยังอุดมสมบูรณ์จึงไม่มีปัญหาการชะล้างพังทะลายของดินเกิดขึ้น แต่ Lowdermilk (1953: 6) ได้รายงานไว้
                  ว่าในพื้นที่ดังกล่าวนี้เกิดปัญหาดินเค็มเนื่องจากปัญหาการระบายน้ า ท าให้ระดับน้ าใต้ดินสูงขึ้น ส่งผลต่อ
                  การเกิดดินเค็มในเวลาต่อมา ในขณะที่ Juo and Wilding (2001: 14) ได้รายงานว่าการล่มสลายของอารย
                  ธรรมอียิปต์เกิดจากการรุกรานของกรีซ เพื่อขยายอาณาจักรในช่วงแรกและตามมาด้วยจักรวรรดิโรมัน ท าให้มี

                  ประชากรเพิ่มขึ้น จึงมีการขยายพื้นที่การเกษตรเพื่อผลิตอาหารเพิ่มขึ้นโดยจัดท าระบบชลประทานเข้าสู่
                  พื้นที่ๆ ไม่ค่อยจะเหมาะสมรวมทั้งการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บนต้นน้ าคือ เขื่อน อัสวาน (Assuan Dam)
                  เพื่อป้องกันอุทกภัยที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ผลิตไฟฟ้าและส่งน้ าไปตามระบบชลประทานสองฝั่งแม่น้ าไนล์

                  ในพื้นที่ทะเลทรายการสร้างเขื่อนดังกล่าวกระทบต่อระบบนิเวศตามธรรมชาติ จึงก่อให้เกิดปัญหาดินเค็ม
                  ตามมาโดยเฉพาะในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ าไนล์ ถึงแม้อารยธรรมการเกษตรอียิปต์ ยังคงอยู่แต่ปัญหา
                  ดินเค็มท าให้ต้องแก้ไขตลอดเวลา

                         2.1.3 อารยธรรมลุ่มน ้าฮวงโห

                         แม่น้ าฮวงโหมีต้นน้ าบริเวณเทือกเขาปาเหยีนคาลาซันตอนเหนือของประเทศจีน ที่ปกคลุมด้วย
                  หิมะตลอดปี ที่ความสูงเหนือระดับน้ าทะเล 5,400 เมตร มีความยาว 5,464 กิโลเมตร ไหลผ่าน ชิงไห่ กังซู
                  นิวเซีย มองโกเลียตอนใน หูหนาน และชานตง ลงสู่อ่าวปอไห่ที่ทะเลเหลือง
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14