Page 8 - โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ : บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2-1
บทที่ 2
ความรุ่งเรืองและการล่มสลายของมนุษย์ชาติกับอารยธรรมการเกษตร
การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรได้ด าเนินการเมื่อมนุษย์เริ่มตั้งถิ่นฐานในช่วงเวลาที่ผ่านมาประมาณ
9,500 ปี หลักฐานทางประวัติศาสตร์ถึงความรุ่งเรืองของมนุษย์ชาติกับอารยธรรมการเกษตรนั้นได้มีการ
จารึกไว้ว่ามีอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่หลายแห่ง ได้ก่อตั้งขึ้นบนบริเวณที่ดินที่อุดมสมบูรณ์และอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่
ดังกล่าวนี้ก็ได้ล่มสลายลงเพราะมีการใช้ที่ดินโดยไม่ดูแลรักษาบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ได้ด าเนินการมา
มากกว่าพันปี และได้มีการพิสูจน์ความเป็นจริงที่ปรากฏถึงปัจจุบันถึงเรื่องมนุษย์และที่ดินมีส่วนสัมพันธ์กัน
ตั้งแต่เริ่มต้นปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา สังคมชาวเกษตรเจริญรุ่งเรือง
บนที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ แต่ความเจริญรุ่งเรืองได้ล่มสลายลงเพราะความเสื่อมโทรมของที่ดิน ทั้ง บาบิโลน
บนฝั่งแม่น้ าไทกริสและยูเฟรติส อิยิปต์ บนฝั่งและปากแม่น้ าไนล์ อินเดียบนที่ราบลุ่มน้ าสินธุ จีนที่กล่าวถึง
ทั้งวิปโยคและสุขสันต์จากแม่น้ า 2 สาย คือ ฮวงโหและแยงซี ในทวีปยุโรปทั้งกรีกและโรมันเจริญรุ่งเรือง
จากการเกษตรในดินที่อุดมสมบูรณ์และสภาพอากาศที่อบอุ่นรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในส่วนชุมชนของ
แอซเทค มายา และอินคา ซึ่งตั้งถิ่นฐานที่รุ่งเรืองบนดินภูเขาไฟในพื้นที่สูงเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ และ
ล่มสลายลงในเวลาต่อมา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1 ความรุ่งเรืองและการล่มสลายของอารยธรรมการเกษตร
2.1.1 อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotemia)
เมโสโปเตเมีย มีความหมายว่า “ดินแดนระหว่างแม่น้ า (Meso : กลาง Potemia : แม่น้ า” พื้นที่
ดังกล่าวนี้มีความอุดมสมบูรณ์จากตะกอนล าน้ า จากการทับถมของดินที่แม่น้ าพัดพามาจากเทือกเขาใน
อาร์เมเนีย จึงได้มีการก่อตั้งสังคมที่เจริญรุ่งเรืองโดยชาวสุเมเรียน (Sumerian) เมื่อประมาณ 7,000 ปีที่แล้ว
(Juo and Wilding, 2001: 41) ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัค อย่างไรก็ตามพื้นที่เมโสโปเตเมีย มีอากาศที่ร้อนและ
ฝนน้อย น้ าที่ได้รับส่วนใหญ่มาจากหิมะที่ละลายในฤดูร้อนบนเทือกเขาในอาร์เมเนีย จากดินที่อุดมสมบูรณ์
และมีน้ าที่จ ากัดจึงมีการก่อสร้างระบบชลประทานเพื่อการเกษตร ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองเป็นอารย
ธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมเมโสโปเตเมียเกิดขึ้นจากการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ โดยการก่อสร้างระบบ
ชลประทาน และระบบการผลิตพืชที่พัฒนาขึ้นในขณะนั้น ต่อมาชาวอามอไรต์ (Amorite) ได้ตั้งอาณาจักร
บาบิโลนขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลายครั้ง ต่อมาเมื่อเผ่าคาลเดียเข้าปกครองพระเจ้าเนมูคัดเน
ซาร์ได้สร้างสวนลอยบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon) ที่จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกขึ้น
ความรุ่งเรืองของเมโสโปเตเมียด ารงอยู่ประมาณ 1,000 ปี โดยมีอาณาจักรที่รุ่งเรืองและล่มสลายเข้ามา
ปกครองถึง 11 อาณาจักร ถึงปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวนี้ รวมทั้งสวนลอยบาบิโลน เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม
ไม่มีการใช้ประโยชน์คลองชลประทานที่ตื้นเขินจากการทับถมของตะกอน
สาเหตุของความเสื่อมโทรมดังกล่าวนี้ Weiss et.al (1993) ได้ให้เหตุผลในการล่มสลายของอารย
ธรรมการเกษตรในเมโสโปเตเมีย ตอนเหนือว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยใช้หลักฐานทาง
โบราณคดีและข้อมูลดินระบุได้ว่า เมื่อ 2,200 ปี ได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นรวมทั้งการสูญเสียหน้าดินโดยลม
อย่างไรก็ตามมีอีกความเห็นหนึ่งที่รายงานโดย Lowdermilk (1953: 4-6) สรุปไว้ว่าการล่มสลายของบาบิโลน
ไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงแต่น่าจะเกิดขึ้นจากการตัดไม้ท าลายป่าในพื้นที่ภูเขา
ตอนบน และการปล่อยสัตว์ในทุ่งหญ้ามากเกินกว่าขีดความสามารถ ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบ
อุทกที่เคยมีสมดุล ส่งผลให้เกิดน้ าท่วมในที่ราบตะกอนดินที่ถูกชะล้างลงมาทับถมพื้นที่การเกษตรและระบบ