Page 76 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 76

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     66






                     บทที่                                 สถำนกำรณ์



                            กำรชะล้ำงพังทลำยของดิน



                                                              ในประเทศไทย






                     สถานการณ์การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งมีสาเหตุมาจาก
               ความแปรปรวนของธรรมชาติและกิจกรรมมนุษย์ อาทิ การรุกล้ าพื้นที่ป่า การลักลอบตัดไม้ท าลายป่า การใช้ที่ดิน
               ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทรัพยากรน้ า และ

               เศรษฐกิจสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงและพื้นที่เกษตรกรรมที่ขาดการอนุรักษ์ดินและน้ า
               ซึ่งสาเหตุหลักมาจากความแปรปรวนของธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ก่อให้เกิดความรุนแรงและผลกระทบ
               ที่แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศต่างๆ ของประเทศไทย  จากการประเมินค่าการสูญเสียดินในภาพรวม
               ทั้งประเทศโดยใช้สมการการสูญเสียดินสากล พบว่า เนื้อที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีปริมาณการสูญเสียดิน
               อยู่ในระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) พบกระจายครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 75.62 ของเนื้อที่
               ทั้งหมดของประเทศ รองลงมาเป็นการสูญเสียดินในระดับปานกลาง และระดับรุนแรง (ตารางที่ 3.1) ซึ่งพบใน
               บริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคใต้  (ภาพที่ 3.1)
                      เมื่อพิจารณาตามสภาพพื้นที่ของประเทศไทย เนื้อที่ทั้งหมด 320.69 ล้านไร่ โดยแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่

               คือ พื้นที่ราบและพื้นที่สูง  โดยพื้นที่ราบ (ความลาดชัน < 35 เปอร์เซ็นต์) มีเนื้อที่ประมาณ 217.88 ล้านไร่  และ
               พื้นที่สูง (ความลาดชัน > 35 เปอร์เซ็นต์) มีเนื้อที่ประมาณ 102.81 ล้านไร่  ทั้งสองพื้นที่มีแนวโน้มของความ
               รุนแรงของการสูญเสียดินคล้ายกัน โดยมีสัดส่วนของระดับความรุนแรงของการสูญเสียดินในระดับน้อย (0-2 ตัน
               ต่อไร่ต่อปี) โดยพื้นที่ราบมีเนื้อที่การสูญเสียดินสูงกว่าพื้นที่สูง  ส าหรับระดับการสูญเสียดินที่มากกว่า 2 ตันต่อไร่
               จะเห็นว่า พื้นที่ราบมีเนื้อที่รวม 45,075,155 ไร่ หรือร้อยละ 14.06 ของพื้นที่ทั้งประเทศ  ในขณะที่พื้นที่สูงมีเนื้อ
               ที่รวม 33,099,261 ไร่ หรือร้อยละ 10.32 ของพื้นที่ทั้งประเทศ (ตารางภาคผนวกที่ 9) พบว่า พื้นที่สูงมีสัดส่วน
               ของเนื้อที่ที่จะเกิดการสูญเสียของดินมากกว่าพื้นที่ราบในระดับการสูญเสียดินรุนแรงมาก และระดับรุนแรงมาก
               ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.71 และ 2.46 ของเนื้อทั้งหมดของพื้นที่สูง ตามล าดับ ดังแสดงในตารางที่ 3.2



                                                               “

















                                                                                                  “
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81