Page 72 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 72

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     62








                                  การประเมินมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการสูญเสียของ
               ดินทั้งระดับประเทศและระดับภาคร่วมกับข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของปริมาณธาตุอาหารในดินซึ่งคาดว่า
               จะมีการสูญเสียไปกับตะกอนดินจากการชะล้างหน้าดิน ในที่นี้พิจารณาที่ระดับความลึก 0-25 เซนติเมตร
               มีรายละเอียดดังนี้
                              1) การศึกษาและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ชั้นข้อมูลจุดเก็บตัวอย่างและ
               ผลการวิเคราะห์ดินจากกองส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน ปี พ.ศ. 2562 ที่ระดับความลึก 0-25 เซนติเมตร จ านวน

               72,302 จุดตัวอย่าง ประกอบด้วย ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่เป็น
               ประโยชน์ โดยการน าผลของปริมาณธาตุอาหารในดินมาท าการวิเคราะห์ตามหลักการทางสถิติ เพื่อคัดกรอง
               เฉพาะข้อมูลที่อยู่ในช่วงค่าทางสถิติที่เหมาะสม และแบ่งข้อมูลปริมาณธาตุอาหารในดินที่สูญเสียไปกับการชะล้าง
               พังทลายของดิน ตามระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินทั้งระดับประเทศ และระดับภาค
               เปรียบกับข้อมูลแผนที่การสูญเสียดินของประเทศและแต่ละภูมิภาคเพื่อค านวณปริมาณธาตุอาหารที่สูญหายไป
               กับตะกอนดินจากการชะล้างหน้าดิน (soil nutrients loss and recovery amount) หน่วยเป็นกิโลกรัมต่อไร่
               หรือ ตันต่อไร่
                              ส าหรับปริมาณไนโตรเจนในดินที่ได้เกิดจากการค านวณปริมาณอินทรียวัตถุในดิน โดยปริมาณ
               ไนโตรเจนในดินมีสัดส่วนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ของอินทรียวัตถุในดิน โดยค านวณจากสมการ


                              ปริมาณไนโตรเจนในดิน (%) =  ปริมาณอินทรียวัตถุ (%) * 0.05              (2.8)

                              2) การประเมินมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์
                                  (1) การประเมินมูลค่าการสูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทลายของดิน โดยค านวณจาก
               ปริมาณการสูญเสียดินที่ได้จากประเมิน  แล้วเปรียบเทียบกับราคาซื้อขายหน้าดินในท้องตลาด โดยดินขนาด

               1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ าหนัก 1.5 ตัน (บริษัท ยูโลจี กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จ ากัด, 2563) และราคาการซื้อขายดินเฉลี่ย
               212.68 บาทต่อลูกบาศก์เมตร (กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า, 2563) สามารถค านวณมูลค่าได้ดังนี้

                              มูลค่าการสูญเสียหน้าดิน (บาท) ;
                              ปริมาณการสูญเสียดิน (ลบ.ม.) * ราคาซื้อขายดินถมที่ (บาทต่อลบ.ม.)                  (2.9)

                                  (2) การประเมินมูลค่าการสูญเสียธาตุอาหารพืชในดิน (ธาตุอาหาร N P และ K)

                                      การประเมินมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ของการสูญเสียธาตุอาหารพืชในดิน
               โดยการค านวณจากข้อมูลปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่สูญเสียไปเทียบกับราคา
               แม่ปุ๋ย ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ประเมินจากราคาของปุ๋ยยูเรีย (46% N) ราคา 578 บาทต่อ 50 กิโลกรัม หรือราคา
               กิโลกรัมละ 11.56 บาท ธาตุฟอสฟอรัส ประเมินจากราคาของปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต (46% P 2O 2) ราคา
               875 บาทต่อ 50 กิโลกรัม หรือกิโลกรัมละ 17.50 บาท และธาตุโพแทสเซียม ประเมินจากราคาของปุ๋ย
               โพแทสเซียมคลอไรด์ (60% K 2O) ราคา 747 บาทต่อ 50 กิโลกรัม หรือราคากิโลกรัมละ 14.94 บาท (ส านักงาน
               เศรษฐกิจการเกษตร, 2563) แล้วค านวณมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการสูญเสียธาตุอาหารหลักของพืชในดิน
               ของแต่ละระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในประเทศและแต่ละภูมิภาค ค านวณมูลค่า ดังนี้


                              มูลค่าธาตุอาหารในดินที่สูญเสีย (บาท) ;

                              ปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสีย (กิโลกรัม) * ราคาต่อหน่วยธาตุอาหาร (บาทต่อกิโลกรัม)    (2.10)
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77