Page 60 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     50




                                 2.3.2.3  กำรประเมินค่ำปัจจัยควำมลำดชันของพื นที่  (slope  length  and  steepness

               factors, LS - factor)

                                       สภาพพื้นที่ที่มีบทบาทส าคัญต่อการชะล้างพังทลายของดินใน 2 ทาง คือ ความยาว
               ของความลาดเท (slope length) และความชัน (slope gradient) Wischmeier และคณะ (USDA, 1978) กล่าวว่า
               การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งสองกับการสูญเสียดินในแปลงทดลองที่กระท าอย่างต่อเนื่อง
               ในสภาพแวดล้อมหลากหลายเป็นระยะเวลานาน ท าให้สามารถพัฒนาสมการคณิตศาสตร์เพื่อใช้ค านวณค่าของ
               ปัจจัย LS - factor ส าหรับใช้กับสมการสูญเสียดินสากล จากสมการแรกที่แนะน าโดย Wischmeier และ Smith

               ในปี ค.ศ. 1957 (USDA, 1997) มีการน าไปใช้ และปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเฉพาะในหลาย
               ประเทศมากขึ้น
                                       การศึกษาค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท (L - factor) และค่าปัจจัยความชัน
               (S - factor) มีความส าคัญต่อการคาดคะเนการสูญเสียดินตามสมการการสูญเสียดินสากล เนื่องจากค่าการ
               สูญเสียดินที่ค านวณได้จากสมการสูญเสียดินสากลมักมีค่าสูงกว่าค่าที่วัดได้จริง และส่งผลกระทบต่อการค านวณ
               ค่าการสูญเสียดินมากกว่าปัจจัยอื่น กรมพัฒนาที่ดินจึงท าการศึกษาเปรียบเทียบการค านวณค่าปัจจัย L และ
               ปัจจัย S จากสมการต่างๆ ที่ใช้ในประเทศและต่างประเทศ เพื่อก าหนดบรรทัดฐานของการจัดท าแผนที่การ
               ชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทยระดับประเทศและระดับภาค โดยพิจารณาถึงความถูกต้องและเหมาะสม
               ของแหล่งข้อมูลการจ าแนกความลาดชันของพื้นที่ที่จะน ามาใช้ประโยชน์ได้
                                         ปัจจัยความยาวของความลาดเท (L - factor)

                                       ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเทในสมการการสูญเสียดินสากล คือ ตัวเลขแสดง
               สัดส่วนของการสูญเสียดินต่อหน่วยความยาวของความลาดชัน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของความลาดเท
               และการชะล้างพังทลายแบบแผ่น (sheet erosion) และการชะล้างพังทลายแบบริ้ว (rill erosion) ไม่นับรวมถึง
               การชะล้างพังทลายแบบอื่นนอกเหนือจากนี้   Wischmeier และคณะท างานอ้างตาม USDA (1997) อธิบายว่า
               ความยาวของความลาดเท หมายถึง ระยะทางตามแนวราบนับตั้งแต่จุดเริ่มมีน้ าไหลเอ่อผิวดิน (overland flow) ถึงจุด
               ใดจุดหนึ่งต่อไปนี้ คือ (1) จุดที่ความลาดชันเปลี่ยนลดลงจนเกิดการทับถมของตะกอน หรือ (2) จุดที่มีการรวมตัว
               ของน้ าไหลบ่า  USDA (1997) กล่าวว่า โดยทั่วไปน้ าจะไหลรวมตัวกันภายในระยะทางไม่เกิน 400 ฟุต ซึ่งถือเป็น

               ความยาวสูงสุดของความลาดชัน อย่างไรก็ตามมีพบบ้างที่ความลาดชันยาวถึง 1,000 ฟุต หากพื้นที่นั้นมีการ
               ไถพรวนดินเป็นร่องยาว ความยาวของความลาดเทสามารถตรวจวัดในสนามได้ด้วยเครื่องมืออย่างง่าย ส าหรับ
               พื้นที่ลาดชันมากระยะทางที่วัดได้ต้องน ามาแปลงเป็นค่าระยะทางในแนวราบก่อน การวัดค่าความยาวของความ
               ลาดเทจากแผนที่เส้นความสูงเท่า (contour) จะได้ค่าที่ยาวมาก เพราะแผนที่ส่วนใหญ่ไม่มีรายละเอียดบอกให้
               ทราบว่าจุดรวมตัวของน้ า ซึ่งเป็นจุดปลายสุดของความยาวของความลาดเทอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
                                         สมการที่ใช้ในการค านวณค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท (L- factor) แนะน าโดย
               Wischmeier และ Smith ในปี ค.ศ. 1957 (USDA, 1997) คือ


                                       L  =     (    / 22.13 ) m                                                                         (2.5)

                      เมื่อ  L  คือ  ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท ในสมการการสูญเสียดินสากล

                               คือ  ระยะทางตามแนวราบของพื้นที่ลาดชัน นับจากจุดเริ่มมีน้ าไหลเอ่อผิวดิน ถึงจุดที่ความ
                                     ลาดชันเปลี่ยนลดลงจนเกิดการทับถมของตะกอน หรือจุดที่มีการรวมตัวของน้ าเป็นร่อง
                                     มีหน่วยเป็นเมตร ควรมีระยะทางไม่เกิน 400 ฟุต หรือประมาณ 120 เมตร แต่ถ้าพื้นที่นั้น
                                     ใช้รถไถพรวนเป็นร่องยาว ค่านี้อาจมีค่าถึง 1000 ฟุต หรือประมาณ 300 เมตร
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65