Page 44 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                    34




                                 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ แบบจ าลองคณิตศาสตร์ และการส ารวจระยะไกล

               ได้ถูกน ามาใช้เพื่อประเมินการชะล้างพังทลายของดิน (Srinivas et al., 2012; 201; FAO, 2019) โดยเฉพาะ
               รูปแบบและพัฒนาการเกิดชะล้างพังทลายของดินแบบริ้ว (rill erosion) และแบบร่อง (gully erosion)
               เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เช่น 1) LIDAR (Light Detection and Ranging) คือ การวัดระยะทางจากการใช้
               วิธียิงแสงเลเซอร์ออกไปแล้ววัดการสะท้อนกลับมาว่าวัตถุนั้นอยู่ไกลเพียงใด การยิงแสงเลเซอร์เป็นลักษณะการ
               กราดแบบเรดาร์คลื่นวิทยุ แต่มีความละเอียดสูงกว่ามาก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยท าให้ขนาดของไลดาร์
               มีขนาดเล็กลงมาตามล าดับ จนมีราคาถูกลงและสามารถน ามาติดตั้งบนโดรนได้ จึงท าให้เกิดการท างานร่วมกัน
               ระหว่างการบินด้วยโดรนถ่ายภาพจากกล้องถ่ายรูปได้ เก็บพื้นผิวภูมิประเทศเป็นสามมิติจากจุดจ านวนมากด้วย
               การสแกนของไลดาร์ ส่วนระบบการให้ต าแหน่งของจุดนั้นอาจจะใช้แบบระบบวัดพิกัดจุดเปิดถ่ายภาพความ

               แม่นย าสูง (post process kinematic, PPK) หรือแบบจลน์ในทันที  (real time kinematics, RTK) มาช่วยให้
               พิกัดมีความละเอียดถูกต้องมากยิ่งขึ้นหลักการคล้าย Aerial Photogrammetry คือต าแหน่งของโดรนในขณะนั้น
               จะถูกแปลง (trajectory) ไปยังจุดของล าเลเซอร์ที่ตกกระทบวัตถุ ท าให้ได้ point cloud ที่มีค่าพิกัดและระดับ และ
                2) การรังวัดด้วยภาพในระยะใกล้ (close-range photogrammetry) เป็นการรังวัดด้วยภาพที่ระยะห่างระหว่าง
               กล้องถ่ายรูปกับวัตถุที่จะรังวัดมีค่าไม่มากนัก  โดยทั่วไปจะจ ากัดในระยะ 1-100 เมตร มีการใช้กล้องถ่ายภาพ
               ชนิดพิเศษเพื่อการนี้โดยเฉพาะ  ปัจจุบันมีวิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพดิจิทัลที่น ามาใช้ในการรังวัดด้วยภาพ
               ซึ่งการรังวัดแบบนี้สามารถประยุกต์ใช้กับบันทึกภาพและแบบจ าลองเพื่อใช้หาขนาดและรูปร่างของวัตถุที่มีรูปร่าง
               ซับซ้อน ช่วยประหยัดเวลาในการบันทึกภาพ (ไพศาล, 2553) Bennett and Wells (2019) แนะน าว่า
               เทคโนโลยีดังกล่าวอาจเข้ามาแทนที่การใช้แบบจ าลองเพื่อคาดการณ์ด้วยการตรวจวัดจริงและการตรวจจับ

               การเปลี่ยนแปลงด้วยการส ารวจ





                       กรมพัฒนาที่ดิน (2558) รายงานถึงการประเมินการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย โดย
               กรมพัฒนาที่ดินได้เริ่มมีการศึกษาในด้านการชะล้างพังทลายของดิน เพื่อเป็นข้อมูลส าคัญในการอนุรักษ์ดินและ
               น้ า จนถึงปี พ.ศ. 2524 จึงได้มีการศึกษาและจัดท าแผนที่การชะล้างพังทลายของดินในระดับประเทศ และต่อมา
               กรมพัฒนาที่ดินจัดท าแผนที่การสูญเสียดินในประเทศไทย (ระดับประเทศ มาตราส่วน 1 : 1,000,000 และระดับ
               ภาค มาตราส่วน 1 : 500,000) โดยใช้สมการการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation; USLE) แล้ว
               เสร็จในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย และมีผู้น ามาใช้อย่างแพร่หลาย
               (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) จากนั้นในปี พ.ศ. 2547 กรมพัฒนาที่ดินได้ประยุกต์แบบจ าลองคณิตศาสตร์ของ
               Morgan et al. (1984) ประเมินการชะล้างพังทลายของดินทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2545 และ 2546 ซึ่งการศึกษาทั้ง
               สองครั้งนั้นมีประโยชน์ในวงกว้างเป็นข้อมูลพื้นฐานส าหรับนักวิชาการ และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อป้องกัน

               การชะล้างพังทลายของดิน
                       การประเมินการชะล้างพังทลายของดินโดยกรมพัฒนาที่ดินที่เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2545 และ 2547 นั้น เป็นการ
               ประเมินการชะล้างพังทลายของดินในช่วงเวลาที่ต่างกัน และได้มีการประยุกต์ใช้แบบจ าลองที่แตกต่างกัน โดย
               สมการการสูญเสียดินสากลนั้นเป็น empirical model ส่วนแบบจ าลอง MMF เป็นแบบจ าลองที่ผสม (mixed
               model) ระหว่าง empirical และ physical model นอกจากนี้แล้วการพิจารณากระบวนการของตะกอนนั้น
               สมการการสูญเสียดินสากลได้พิจารณาเฉพาะการเกิดตะกอน ต่างจาก Morgan et al. (1984)  ที่พิจารณาถึงการ
               เกิดตะกอนและการพัดพาอนุภาคดินที่แตกกระจายด้วย นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่แตกต่างกัน เช่น
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49