Page 49 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        39








                            ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดท าการประเมินการสูญเสียดิน
                   เพื่อเป็นแนวทางในการก าหนดนโยบายการด าเนินงานของ
                   กรมพัฒนาที่ดินและของประเทศ โดยอาศัยระบบสารสนเทศ
                   ทางภูมิศาสตร์ ส าหรับการวิเคราะห์จัดท าแผนที่ซึ่งเกี่ยวกับ

                   ข้อมูลจ านวนมากจากหลายแหล่งที่มา และเป็นการน าข้อมูล
                   ดิจิทัลที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์  โดยใช้ฐานข้อมูลแผนที่ที่มี
                   รายละเอียดระดับมาตราส่วน 1:50,000 ในการวิเคราะห์ข้อมูล
                   ภายใต้เงื่อนไข  ดังนี้
                          1) จัดท าแผนที่การประเมินการสูญเสียดินในประเทศ
                   ไทย ตามข้อจ ากัดของข้อมูลที่มีอยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูล
                   การใช้ประโยชน์ที่ดิน จากการส ารวจระหว่างปี 2521-2540
                          2) การสูญเสียดิน แสดงให้เห็นถึงระดับความรุนแรง

                   ของการสูญเสียดินในบริเวณต่างๆ เป็นการเปรียบเทียบใน
                   ภาพรวม  ไม่ใช่เฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง ส่วนการน าไปใช้ประโยชน์นั้น
                   ควรมีการประเมินใหม่อีกครั้ง ตามข้อมูลเฉพาะของพื้นที่  ซึ่งมีความผันแปรแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา
                   ทั้งปริมาณน้ าฝน การใช้ที่ดิน สมบัติของดิน และความลาดชันของพื้นที่
                          3) ผลส าเร็จของการประเมินการสูญเสียดิน แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย
                   ของดิน ซึ่งจะน าไปสู่การก าหนดแนวทางการอนุรักษ์ดินและน้ า ให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                          การศึกษาทั้งสองครั้งนี้ ได้จัดท าแผนที่การชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย ทั้งในระดับประเทศ
                   และระดับภาค โดยวิเคราะห์พื้นที่เป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ราบ หมายถึง ที่ราบล าน้ า ที่ลาดเชิงเขาและเนินเขา ความลาดชัน

                   ไม่เกินร้อยละ 35 และพื้นที่สูง หมายถึง ภูเขาและที่ลาดหุบเขา พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35
                   ซึ่งได้จ าแนกชั้นความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินเป็น5 ระดับ ตามปริมาณการสูญเสียดิน คือ ระดับน้อย
                   (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) ระดับปานกลาง (2 - 5 ตันต่อไร่ต่อปี) ระดับรุนแรง (5 - 15 ตันต่อไร่ต่อปี) ระดับรุนแรงมาก
                   (15 - 20 ตันต่อไร่ต่อปี) และระดับรุนแรงมากที่สุด (> 20 ตันต่อไร่ต่อปี) (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
                          การประเมินการสูญเสียดินโดยสมการการสูญเสียดินสากลของกรมพัฒนาที่ดินเมื่อปี พ.ศ. 2545 นั้น
                   พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีระดับการสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด การสูญเสียดินรุนแรงมาก และระดับการ
                   สูญเสียดินรุนแรง เนื้อที่ประมาณ 12.87 3.36 และ 24.02 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.01 1.05 และ 7.48 ของพื้นที่

                   ทั้งหมดของประเทศไทยตามล าดับ (ภาพที่ 2.1) โดยทั้ง 3 ระดับ พบมากในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาค
                   ตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งในภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่ความลาดชันสูง จึงพบการสูญเสียดินมากกว่าในภาคอื่นๆ โดย
                   พบบริเวณที่มีการปลูกพืชไร่ ส าหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบความรุนแรงของการสูญเสียต่ าที่สุด  เนื่องจากพื้นที่
                   ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบบนที่สูง มีพื้นที่ลาดชันสูงอยู่เพียงร้อยละ 7.6 ของเนื้อที่ทั้งหมดของภาค  โดยมีสภาพการใช้
                   ประโยชน์ที่ดินเป็นป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54