Page 42 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                    32


               ยังคงโครงสร้างเดิมของ USLE และได้รวบรวมผลงานวิจัยใหม่เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาสมการ
               RUSLE ได้รับความสนใจส าหรับใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ (scenario analysis) เนื่องจากได้มีการ
               รวบรวมข้อมูลปัจจัยด้านสภาพอากาศและปัจจัยการจัดการในสมการค านวณ  และยังถูกน าไปใช้ส าหรับ
               แบบจ าลองการพังทลายของดินในแบบจ าลองต่างๆ เช่น  แบบจ าลอง AGNPS (Agricultural Non-Point

               Source Model) และแบบจ าลอง WATEM-SEDEM (FAO, 2019)
                              ส าหรับข้อจ ากัดของ RUSLE ได้รับการพิจารณาอย่างกว้างขวาง ประการแรกคือ โดยธรรมชาติ
               ของสมการ USLE (Renard et al., 1997)  เป็นการค านวณการสูญเสียดินซึ่งไม่ใช่ปริมาณของตะกอนที่ได้
               (sediment yield) และไม่ได้จ าลองถึงผลจากการกัดเซาะจากแหล่งอื่นๆ เช่น จากรูปแบบการชะล้างพังแบบร่อง
               ลึก (gully) และทับถมในพื้นที่ทั้งบริเวณใกล้เคียงและพื้นที่อื่นๆ  ส าหรับการพัฒนาแบบจ าลองในอนาคตของ
               RUSLE2 (Foster et al., 2003) ได้มีแนวทางที่ค านึงถึงการประเมินการสะสมของตะกอนในมิติของความลาดชัน
               ของพื้นที่เนินเขา  (FAO, 2019) Jahun et al. (2015) ระบุว่า แบบจ าลอง RUSLE ได้รับการพัฒนาเพื่อประเมิน
               ความเสี่ยงการพังทลายของดินส าหรับลุ่มน้ าขนาดเล็กในท้องถิ่น ซึ่งอาจจะมีข้อจ ากัดในกรณีพื้นที่ขนาดใหญ่
               ที่สะท้อนถึงผลของกระบวนการพังทลายของดินและคุณภาพน้ า

                              นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาอื่นๆ ได้อภิปรายและโต้แย้งถึงปัจจัยเฉพาะในกลุ่มแบบจ าลอง USLE
               เช่น ในประเด็นของปัจจัยดัชนีของการชะล้างพังทลายดินของฝน (rainfall erosivity) หรือปัจจัย R  โดยระบุว่า
               ขาดการพิจารณาอย่างชัดเจนถึงการไหลบ่าในปัจจัย R ซึ่งมีข้อจ ากัดในการท านายการสูญเสียดินที่มีความแม่นย า
               (FAO, 2019) และได้มีการปรับแต่งเพิ่มเติม เรียกว่า Modified Universal Soil Loss Equation (MUSLE) เป็น
               การใช้ข้อมูลการไหลบ่าและข้อมูลการไหลสูงสุดเพื่อประเมินค่าการสูญเสียดิน (Sadeghi et al. 2014)  MUSLE
               ถูกใช้ในแบบจ าลอง SWAT (Soil and Water Assessment Tool) และได้ให้ข้อสังเกตการพิจารณาการพัฒนา
               อย่างต่อเนื่องโดยยึดแนวทางตาม USLE

                              3) แบบจ าลอง Morgan-Morgan-Finney (MMF) เป็นแบบจ าลองที่ใช้คาดการณ์อัตรา
               การชะล้างพังทลายดินแบบแผ่น และแบบร่องลึก โดยแบ่งการค านวณออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการประเมิน
               ปริมาณน้ าฝนและน้ าไหลบ่าหน้าดิน และส่วนการประเมินปริมาณการเคลื่อนย้ายตะกอน ซึ่งปริมาณตะกอนที่
               เกิดขึ้นได้จากการรวมกันของปริมาณตะกอนที่เกิดจากการตกกระทบของเม็ดฝน และปริมาณที่เกิดจากน้ าไหลบ่า

               หน้าดิน จากนั้นน าค่าปริมาณตะกอนที่ได้มาเปรียบเทียบกับความสามารถในการเคลื่อนย้ายตะกอน ให้ถือค่าน้อย
               กว่าเป็นอัตราการชะล้างพังทลายดินของพื้นที่ลุ่มน้ า ซึ่งการได้มาของค่าอัตราการชะล้างพังทลายดินของ
               แบบจ าลองนี้จะ ใช้ข้อมูลปัจจัยด้านน้ าฝน (R, Rn, I) ปัจจัยด้านดิน (BD, MS, COH, K) ปัจจัยด้านพืชหรือการใช้

               ประโยชน์ที่ดิน (A, Et/Eo, C, CC, GC, PH, EHD) ปัจจัยด้านสภาพภูมิประเทศ (S) โดยใช้สมการเปรียบเทียบ
               3 สมการ ดังนี้
                                 (1) ปริมาณตะกอนที่เกิดจากการตกกระทบของเม็ดฝน


                                                                 -3
                                                   F = K * KE * 10                                 (1.2)
                       เมื่อ   F   คือ ปริมาณตะกอนที่เกิดจากการตกกระทบของเม็ดฝน (กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
                              K   คือ ค่าความคงทนของดินต่อการตกกระทบของเม็ดฝน (กรัมต่อจูล)
                              KE คือ พลังงานของเม็ดฝนที่ตกลงสู่พื้น (จูลต่อตารางเมตร)
                                (2) ปริมาณตะกอนที่เกิดจากการกระท าของกระบวนการน้ าไหลบ่าหน้าดิน


                                                                     -3
                                                    1.5
                                            H = Z*Q *sin ( S (1-GC)*10 )                            (1.3)
                       เมื่อ   H   คือ ปริมาณตะกอนที่เกิดจากกระบวนการน้ าไหลบ่าผิวดิน (กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47