Page 39 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        29



                                      การศึกษาการชะล้างพังทลายของดินโดยการสร้างแปลงทดลองเพื่อเก็บตะกอนดินเป็น

                   ตัวอย่างหรือตัวแทนบ่งบอกปริมาณหรืออัตราการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ที่ท าการศึกษาในช่วงระยะเวลา
                   หนึ่ง พื้นที่บริเวณที่จะสร้างแปลงทดลองต้องมีสภาพที่เป็นตัวแทนทั้งสภาพของความลาดชัน ลักษณะดิน และ
                   พืชพรรณที่ปกคลุมดิน (นิติพัฒน์, 2556) และสิ่งที่จ าเป็นที่ควรมีการด าเนินการควบคู่กับแปลงทดลอง คือ สถานี
                   ตรวจวัดน้ าฝน (rainfall simulator) เพื่อการประเมินการแตกกระจายของอนุภาคดินที่ได้รับแรงปะทะจาก
                   เม็ดฝนและการไหลของน้ า
                                     แปลงทดลองเพื่อเก็บตะกอนที่มีการใช้อย่างแพร่หลายซึ่งน าไปสู่การพัฒนาสมการสูญเสียดิน
                   สากล (USLE) โดยขนาดแปลงทดลองพิจารณาความสามารถในการดักและตรวจวัดการไหลบ่าและตะกอน ซึ่งมี
                   ขนาดความยาว 22.1 เมตร กว้าง 4.1 เมตร มีจ านวนซ้ าตามวิธีการทดลอง เช่น ประเภทการคลุมดิน หรือการ
                   จัดการดินที่มีต่อการสูญเสียดิน (FAO, 2019)  ในบางประเทศนิยมใช้แปลงขนาด 5 x 20 เมตร ซึ่งสะดวกในการ
                   ค านวณพื้นที่เป็นเฮกแตร์ ตารางกิโลเมตร หรือไร่ ได้ (สมยศ, 2528) ซึ่งในการก าหนดแปลงทดสอบนั้น จะต้อง

                   แยกแปลงทดสอบออกจากพื้นที่ข้างเคียงและสร้างขอบเขตแปลงแบ่งพื้นที่ออกจากกัน เพื่อไม่ให้น้ าจากพื้นที่
                   ใกล้เคียงไหลเข้ามาแปลงทดสอบ และป้องกันน้ าจากแปลงทดสอบไหลออกไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงเช่นกัน  ปริมาณ
                   การชะล้างพังทลายของดินที่เกิดขึ้นจากแปลงทดสอบจะไหลลงสู่ถังรองรับตะกอน (collecting tank) เมื่อ
                   ฝนหยุดตกจะท าการเก็บข้อมูลปริมาณน้ าที่ไหลบ่า และปริมาณดินที่สูญเสียของฝนที่ตกแต่ละครั้ง แล้วน าข้อมูล
                   ทั้งหมดมารวมกันเป็นข้อมูลทั้งหมดของแต่ละปี หรือแต่ละฤดูกาลตามความต้องการ (สมยศ, 2528)

















                      ภาพแปลงทดลองวิจัยศึกษาปริมาณการสูญเสียและน้ าไหลบ่าในพื้นที่สูง
                      ต าบลเข็กน้อย อ าเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยนายบุญเดี่ยว บุญหมั้น
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44