Page 45 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        35


                   ปริมาณน้ าฝนของทั้งสองช่วงเวลา การใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่าง ปัจจัยที่แตกต่างกันส าหรับการประยุกต์ใช้แต่ละ
                   แบบจ าลอง เป็นต้น ดังนั้น ผลการประเมินจากการศึกษาสองครั้งนี้ย่อมมีความแตกต่างกัน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
                            จากการประเมินทั้งสองครั้งข้างต้นเป็นการประเมินในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันและประยุกต์ใช้
                   แบบจ าลองที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังไม่มีปริมาณการสูญเสียดินในพื้นที่จริงมาเปรียบเทียบ จึงไม่สามารถระบุได้ว่า

                   ผลการประเมินจากแบบจ าลองใดมีความถูกต้องมากกว่า อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาทั้งสองครั้ง พบว่า จุดเด่น
                   ของสมการการสูญเสียดินสากล คือ มีพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องจ านวนน้อย และสามารถศึกษาค้นคว้า
                   จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย เนื่องจากมีการพัฒนาเป็นเวลานาน และมีผู้ประยุกต์ใช้งานเป็นจ านวนมาก  แต่มี
                   ข้อจ ากัดตรงที่ สมการการสูญเสียดินสากลนั้นได้พัฒนามาเพื่อการประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เกษตร
                   ที่มีความลาดชันไม่มาก ท าให้การน าแบบจ าลองประเมินในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงอาจเกิดความคลาดเคลื่อน
                   การประยุกต์ใช้สมการการสูญเสียดินสากลนั้น จึงควรเพิ่มเติมข้อมูลจากภาคสนามหรือแปลงทดลองในพื้นที่ต่างๆ
                   ของประเทศไทยร่วมพิจารณาด้วย เช่น ปัจจัยของพืชคลุมดิน (C-factor) ปัจจัยความคงทนต่อการถูกการชะล้าง
                   พังทลายของดิน (K-factor) ปัจจัยของน้ าฝนและการไหลบ่า (R-factor) เป็นต้น
                            กรมพัฒนาที่ดิน (2558) ระบุว่า กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการก าหนดนโยบายและ

                   วางแผนการใช้ที่ดิน การส ารวจและจ าแนกดิน การอนุรักษ์ดินและน้ า การปรับปรุงบ ารุงดิน การผลิตแผนที่และ
                   ท าส ามะโนที่ดิน การให้บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน ข้อมูลดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                   เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน ในพื้นที่เกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้น
                   แบบจ าลองที่เหมาะสมส าหรับกรมพัฒนาที่ดินและสามารถน ามาใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมได้มาก คือ สมการ
                   การสูญเสียดินสากล (USLE) ส่วนแบบจ าลอง MMF นั้นจะเหมาะสมกับพื้นที่ลาดชันสูง ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของ
                   หน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โครงการหลวง เป็นต้น กรมพัฒนาที่ดิน
                   อาจจะน ามาประยุกต์ใช้ส าหรับโครงการในพื้นที่ศึกษาต่างๆ ได้  และการประเมินการชะล้างพังทลายของดินจะมี
                   ความแม่นย ามากขึ้น หากมีข้อมูลที่ทันสมัย ถูกต้อง ซึ่งข้อมูลส าหรับการประเมินการชะล้างพังทลายของดิน

                   ในระดับประเทศของไทยนั้นยังมีน้อย กรมพัฒนาที่ดินจึงควรสนับสนุนให้มีการศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับ
                   ข้อมูลต่างๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทยและในระยะยาว เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน รวมถึงข้อมูล
                   ส าหรับการสอบเทียบแบบจ าลอง ซึ่งส่งผลให้การประเมินการชะล้างพังทลายของดินได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น สามารถ
                   น าไปศึกษาในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ า การวางแผนการใช้ที่ดิน การปรับปรุงบ ารุงดิน รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับ
                   การยอมรับและทัศนคติของชุมชนต่อระบบอนุรักษ์ดินและน้ าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50