Page 41 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        31





                                     1) สมการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation; USLE) พัฒนามาตั้งแต่เมื่อ
                   ปี ค.ศ. 1961 โดยกรมการเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture, USDA)
                   และในปี ค.ศ. 1978 Wischmeier and Smith ได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ โดยมีรูปแบบของสมการ ดังนี้

                                               A       =      R * K * L * S * C * P                   (1.1)

                            โดยที่  A คือ ปริมาณดินที่สูญเสีย ที่ค านวณได้ต่อหน่วยพื้นที่ (ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี)

                                 R คือ ค่าดัชนีของการชะล้างพังทลายดินของฝน (rainfall factor) ในปีที่มีฝนตกระดับปกติ
                   (normal year’s rain)
                                 K คือ ค่าความคงทนต่อการชะล้างพังทลายของดิน เป็นอัตราการสูญเสียดินต่อหนึ่งหน่วยของ
                   ดัชนีการชะล้างพังทลาย (erosion index) ส าหรับดินชนิดใดชนิดหนึ่ง ในลักษณะของหน้าดินที่ท าเป็นร่องไถ
                   พรวนขึ้นลงติดต่อกันยาว 72.6 ฟุต (22.13 เมตร) บนพื้นที่ลาดชัน 9 เปอร์เซ็นต์
                                 L คือ ค่าอิทธิพลของความยาวของความลาดชันที่มีต่อการชะล้างพังทลายของดิน (slope
                   length factor) เป็นค่าที่ได้จากอัตราส่วนการสูญเสียดิน จากความยาวของความลาดชันช่วงใดช่วงหนึ่งกับความ
                   ยาวมาตรฐาน คือ 72.6 ฟุต หรือ 22.13 เมตร ซึ่งอยู่บนแนวความลาดเทอันเดียวกัน
                                 S คือ ค่าอิทธิพลของความลาดชัน (slope-gradient factor) เป็นอัตราส่วนของการสูญเสียดิน
                   จากความลาดชันระดับใดระดับหนึ่งต่อความลาดชันมาตรฐานที่ 9 เปอร์เซ็นต์

                                 C คือ ค่าอิทธิพลของพืชหรือสิ่งปกคลุม (cropping management factor) เป็นอัตราส่วนของ
                   การสูญเสียดินระหว่างพื้นที่ที่มีพืชชนิดใดชนิดหนึ่งปกคลุมอยู่กับการสูญเสียดินจากบริเวณไถพรวนที่ปราศจาก
                   พืชคลุมดิน ซึ่งใช้ในการหาค่าความคงทนของดิน
                                 P คือ ค่าอิทธิพลของมาตรการที่ใช้ในการควบคุมการชะล้างพังทลายของดิน (erosion-
                   control factor) เป็นค่าอัตราส่วนของการสูญเสียดินจากพื้นที่ที่มีวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าแบบต่างๆ เช่น การไถ
                   พรวนตามแนวระดับ (contouring) การปลูกพืชเป็นแถบ (strip cropping) การท าขั้นบันได (terracing) ใน
                   บริเวณที่ปลูกพืชขึ้นลงตามแนวขนานความลาดชัน

                                 ข้อจ ากัดของการใช้สมการเพื่อคาดคะเนการสูญเสียดินให้มีความถูกต้องนั้น จ าเป็นจะต้องเป็น
                   ดินที่มีเนื้อดินปานกลาง (medium texture soil) อยู่บนพื้นที่ที่มีความลาดเทระหว่าง 3 - 18 เปอร์เซ็นต์ มีความยาว
                   ของความลาดเทไม่เกิน 400 ฟุต ตลอดจนมีการปลูกพืชและมีการจัดการคล้ายกับแปลงทดลองการสูญเสียดินซึ่งเป็น
                   รากฐานในการสร้างสมการนี้
                                 2) สมการสูญเสียดินสากลแบบปรับปรุง (Revised Universal Soil Loss Equation; RUSLE)
                                      จากฐานคิดของการใช้เทคโนโลยีในการท านายการชะล้างพังทลายเริ่มต้นจาก Renard et al.

                   (1997) มุ่งเน้นการค้นหาปัจจัยหลักที่มีผลต่อการชะล้างพังทลายของดินโดยมีน้ าเป็นตัวเร่ง ประกอบด้วย
                   3 ปัจจัยหลัก คือ ดัชนีของการชะล้างพังทลายดินของฝนและการไหลบ่า การต้านทานต่อการพังทลายของดิน
                   และการปกป้องดินด้วยพืชคลุมดิน
                                     ในส่วนของการจ าลองสถานการณ์ถึงการชะล้างพังทลายของดินโดยตัวเร่งน้ า (water
                   erosion) แบบจ าลอง RUSLE (Renard et al., 1997) ได้ถูกน ามาใช้อย่างกว้างขวางและแพร่หลาย
                   ซึ่งแบบจ าลอง RUSLE ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาจาก 5 ปัจจัยหลัก (Ghosal and Das, 2020) โดยอาศัย
                   หลักการเดียวกันกับสมการ USLE (Wischmeier and Smith, 1978) จึงได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการประเมิน
                   และวางแผนการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน  จากฐานคิดของ USLE ที่มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์

                   ระหว่างการสูญเสียดินกับปัจจัยที่ควบคุมจากแปลงทดสอบมาตรฐาน (standard USLE plot) ส าหรับ RUSLE
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46