Page 31 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        21



                                 การสูญเสียธาตุอาหารในดินเกิดจากปริมาณธาตุอาหารจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืช ปริมาณ

                   ธาตุอาหารในดินที่สูญเสียจากการไหลบ่าของน้ า ปริมาณธาตุอาหารถูกพัดพาไปในสภาพสารละลายหรือ
                   แขวนลอย  ซึ่งสามารถประเมินจากปริมาณที่สูญเสียในดินได้
                                  การสูญเสียธาตุไนโตรเจน ปริมาณไนโตรเจนในดินถึงแม้จะมีไม่มากนัก แต่เมื่อเกิดการชะล้าง
                   พังทลายของดินธาตุไนโตรเจนจะติดมาด้วย เนื่องจากสารประกอบไนโตรเจนส่วนใหญ่จะละลายน้ าได้ดี ท าให้ดิน
                   บริเวณนั้นสูญเสียไนโตรเจนได้ง่าย เช่น แอมโมเนียม (NH 4) และไนเตรท (NO 3) นอกจากนี้ การสูญเสีย
                   ธาตุไนโตรเจนเกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องจากเป็นธาตุอาหารพืชที่สามารถเปลี่ยนรูปได้ง่ายมาก
                                  การสูญเสียธาตุฟอสฟอรัส ปริมาณฟอสฟอรัสในดินส่วนใหญ่อยู่บริเวณผิวดิน และมีมากกว่า 50

                   เปอร์เซ็นต์ ถูกยึดโดยอนุภาคดินเหนียว กรมพัฒนาที่ดิน (2558) รายงานสถานภาพปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
                   ประโยชน์อยู่ในระดับต่ ากว่า 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การชะล้างพังทลาย
                   ท าให้ฟอสฟอรัสสูญเสียไปกับตะกอนดินจากการไหลบ่าด้วย อย่างไรก็ตาม ปริมาณฟอสฟอรัสมากกว่า
                   60 เปอร์เซ็นต์ของดินที่ถูกพัดพาจะอยู่ในรูปอินทรียวัตถุ  นอกจากนี้ เมื่อใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในสภาพที่แห้งแล้ว
                   ฝนตกทันที จะมีผลท าให้ฟอสฟอรัสสูญเสียไป 22 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณปุ๋ยที่ใส่ ปริมาณการสูญเสียฟอสฟอรัส
                   จะเกิดมากในช่วงฝนตกครั้งแรกๆ และลดลงในช่วงฝนตกครั้งต่อไป
                               การสูญเสียธาตุโพแทสเซียม แม้ว่าโพแทสเซียมจะสูญเสียในตะกอนดินที่ถูกพัดพาไปจากพื้นที่

                   เป็นจ านวนมาก แต่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่อยู่ในสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ทั้งนี้  เนื่องจาก
                   ธาตุโพแทสเซียมทั้งหมดในดิน อยู่ในสภาพที่พืชไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ถึง 90-98 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้
                   สถานภาพปริมาณโพแทสเซียมในดินของประเทศไทยที่มีอยู่ในระดับต่ า (<60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) โดยกระจาย
                   สูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากลักษณะดินส่วนใหญ่ในภาคนี้เป็นดินทรายมีวัตถุต้นก าเนิดที่ให้
                   โพแทสเซียมน้อย และมีปริมาณต่ าในภาคตะวันออกและภาคใต้ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการชะล้างพังทลาย
                   ของดินที่เกิดจากอิทธิพลของปริมาณน้ าฝน
                                 กรมพัฒนาที่ดิน (2556) การประเมินการสูญเสียธาตุอาหารในดินจากการศึกษาคุณภาพน้ า
                   ในพื้นที่ลุ่มน้ าทั่วประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารที่ถูกพัดพาจากพื้นที่ลุ่มน้ า  โดยพิจารณาอัตรา
                   การสูญเสียดินในรูปของตะกอนดินและธาตุอาหารพืช และมูลค่าทางเศรษฐกิจในรูปของปุ๋ย พบว่า การสูญเสีย
                   ธาตุอาหารพืชจากตะกอนดินที่ถูกชะล้างไปทั่วประเทศ คิดเป็นปริมาณธาตุไนโตรเจนในรูปของปุ๋ยยูเรียประมาณ

                   294,128 ตันต่อปี ปริมาณฟอสฟอรัสในรูปของปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟตประมาณ 275,040 ตันต่อปี และ
                   ปริมาณโพแทสเซียมในรูปของปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ประมาณ 1,040,314 ตันต่อปี
                                  การสูญเสียธาตุอาหารโดยการซึมซาบ (leaching) จากการวิเคราะห์น้ าที่ระบายออกจากไร่นา
                   พบว่า  ธาตุอาหารที่ปนไปกับน้ าโดยเรียงล าดับตามความง่ายไปยาก ได้แก่  ไนโตรเจน โพแทสเซียม โซเดียม
                   แคลเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส ก ามะถัน คลอรีน และฟอสฟอรัส ตามล าดับ โดยทั่วไปสารประกอบไนเตรท
                   จะถูกดูดซับโดยเม็ดดิน ในรูปสารประกอบที่ละลายน้ าได้ดี จึงมักถูกซึมซาบลงสู่ดินชั้นล่าง ส าหรับแอมโมเนียม
                   จะถูกดูดซับและยึดไว้โดยคอลลอยด์ดิน (soil colloidal) จึงไม่ค่อยถูกซึมซาบเหมือนสารประกอบพวกไนเตรท

                   ในพื้นที่ที่มีการปลูกพืชแบบต่อเนื่อง การซึมซาบของไนโตรเจนจะน้อยมาก ส าหรับปริมาณฟอสฟอรัสอาจถูก
                   ซึมซาบได้ง่ายและปริมาณมากในดินที่เป็นทรายจัด ถึงแม้ว่าสารประกอบฟอสเฟตจะเคลื่อนที่ได้น้อยในดินก็ตาม
                   ส าหรับโพแทสเซียมแม้จะถูกดูดซับไว้ แต่จะถูกซึมซาบไปได้เช่นกันเมื่อสารละลายอิ่มตัวด้วยโพแทสเซียม หรือ
                   เกลือในสารละลายนั้นมีความเข้มข้นมาก ทั้งนี้  ปริมาณธาตุอาหารในตะกอนดินโดยการถูกพัดพาไปกับการไหล
                   บ่าของน้ าและซึมซาบเป็นการสูญเสียที่มีปริมาณมากทั้งด้านคุณภาพของดินและมูลค่าของธาตุอาหาร
                   ในรูปของปุ๋ยเคมี
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36