Page 13 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3



                   ที่มีผลต่อการปลูกพืช การวิเคราะห์หาความเหมาะสมของพื้นที่วิเคราะห์ข้อมูลชุดดินและระดับความสูง

                   ของพื้นที่ แบ่งระดับความเหมาะสมของชุดดินสําหรับการปลูกพืชแต่ละชนิดออกเป็น 4 ระดับ คือ
                   เหมาะสมสูงที่สุด เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมเล็กน้อย และไม่เหมาะสม ซึ่งการแบ่งระดับความ

                   เหมาะสมของดินนั้นเป็นข้อมูลที่นํามาจากกรมพัฒนาที่ดิน และวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ําฝน และเขต
                   ชลประทาน โดยการแบ่งระดับของปริมาณน้ําฝนเป็น 4 ระดับ ตามความต้องการน้ําของพืชแต่ละชนิด

                   และแบ่งระดับของพื้นที่ในเขตชลประทาน 2 ระดับ คือในเขตชลประทานเป็นพื้นที่เหมาะสมที่สุด และ
                   นอกเขตชลประทานเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และกําหนดเขตพื้นที่ตามระดับความเหมาะสมหลังจากได้

                   แผนที่ระดับความเหมาะสมของดินและน้ําแล้วได้นําข้อมูลแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน โดย

                   จําแนกพื้นที่ออกเป็น 4 ระดับ  ได้แก่ ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง S1 (Highly  suitable) ชั้นที่มีความ
                   เหมาะสมปานกลาง S2 (Moderately  suitable) ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย S3  (Marginally

                   suitable)  และชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม N (Unsuitable)

                          คุณภาพของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช ประกอบด้วยคุณลักษณะของ
                   ที่ดิน (Land Characteristic) ตัวเดียวหรือหลายตัว คัดเลือกคุณภาพที่ดินต้องประกอบด้วยเงื่อนไขครบ 3
                   ประการ ได้แก่ สมบัติดินต้องมีผลต่อพืชนั้นๆ มีค่าวิกฤตที่พบในพื้นที่ที่ปลูกพืชนั้นๆ และเป็นข้อมูลที่
                   สามารถรวบรวมได้ ซึ่งจากเงื่อนไขการคัดเลือกคุณภาพที่ดินดังกล่าว สามารถคัดเลือกคุณภาพที่ดินที่มี
                   อิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ (บัณฑิต และคํารณ 2542) รายละเอียดดังตารางที่ 1


                   ตารางที่ 1 คุณลักษณะดินที่เป็นตัวแทนของคุณภาพดิน


                     คุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช      คุณลักษณะดินที่เป็นตัวแทน
                                   (Land quality)                            (Soil Characteristic)

                   1. ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture     - ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยในรอบปี

                      availability: m)                            - ความต้องการน้ําในช่วงการเจริญเติบโตของพืช
                                                                  - เนื้อดิน

                   2. ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช        - สภาพการระบายน้ําของดิน
                       (Oxygen availability: O)

                   3. ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient      - ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                      availability: S)                            - ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)
                   4. ความจุในการดูยึดธาตุอาหาร (Nutrient         - ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation

                      Retention: n)                                exchange capacity: C.E.C.)

                                                                  - ความอิ่มตัวด้วยด่าง (Base saturation : B.S.)
                   5. ความเสียหายจากน้ําท่วม (Flood hazard: f)    - จํานวนครั้งที่น้ําท่วมในรอบปีที่กําหนด

                   6. สภาวะการหยั่งลึกของรากพืช (Rooting          - ความลึกของดิน

                      conditions: r)                              - ชั้นการหยั่งลึกของราก
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18