Page 12 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2



                                                      การตรวจเอกสาร


                          โครงการนําร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ
                   การแข่งขันภาคการเกษตรสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)  มีการศึกษาผลที่เกิดขึ้นต่อภาคเกษตรของไทย
                   ภายหลังจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงความพร้อมในการปรับตัวของเกษตรกรต่อ
                   การแข่งขันจากสินค้าเกษตรของประเทศเพื่อนบ้าน  เพื่อการเร่งปรับตัวเพื่อลดผลกระทบทางด้านผลผลิต

                   ทางการเกษตรที่เกิดขึ้น  และเสริมสร้างโอกาสและความสามารถภาคการเกษตรในการแข่งขันของ
                   ประเทศต่อไป แนวโน้มการผลิตพืชสําคัญในอาเซียน คือ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ํามัน และมันสําปะหลัง
                   ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดินร่วมกับสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ศึกษาโอกาสและผลกระทบของสินค้า

                   เกษตรไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยในประชาคม
                   อาเซียน ยังมีแนวโน้มที่ดีเนื่องจากสินค้าเกษตรไทยเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพและมาตรฐาน โดยเฉพาะ
                   ผลไม้ สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สินค้าบางประเภทมีการพัฒนาไปสู่การแข่งขันในระดับโลกแล้ว
                   เช่น ไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ โดยกลุ่มสินค้าที่แข่งขันได้แต่ต้องสร้างจุดเด่นและพัฒนาสินค้าเพื่อครองตลาด

                   ให้มากขึ้น ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสําปะหลัง และยางพารา ส่วนกลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบ
                   ได้แก่ เมล็ดกาแฟ น้ํามันปาล์ม และมะพร้าว เป็นต้น (กรมพัฒนาที่ดิน 2554)
                          การจัดทําเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจพืชมันสําปะหลัง การกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจที่

                   มีระบบฐานข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน สมบัติของดินด้านกายภาพและ
                   เคมี พื้นที่รับน้ําชลประทาน ขอบเขตป่าไม้ ข้อมูลภูมิอากาศ ตําแหน่งที่ตั้ง แหล่งรับซื้อผลผลิต และ

                   เป้าหมายการผลิตพืชตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล อันเป็นการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดสําหรับ

                   ปลูกพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิด เพื่อให้มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาด สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลและ
                   ปรับโครงสร้างระบบการผลิตภาคการเกษตร ซึ่งได้พัฒนาเป็นโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อ

                   กําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ (AgZone3)  ปี พ.ศ. 2548  ในรูปแบบของการเรียกใช้โปรแกรมที่
                   สามารถวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อประเมินศักยภาพและความเหมาะสมของ

                   พื้นที่ ในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 12 ชนิด ที่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ประกอบด้วย ข้าวนาปี
                   ข้าวนาปรัง อ้อย ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสําปะหลัง สับปะรด ปาล์มน้ํามัน ยางพารา กาแฟ ทุเรียน และ

                   ลําไย โดยกรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการศึกษา สํารวจ จําแนก วิเคราะห์และวิจัยดิน

                   และที่ดิน ทําสํามะโนที่ดิน ติดตามสถานการณ์สภาพการใช้ที่ดิน เพื่อกําหนดนโยบายและวางแผนการใช้
                   ที่ดิน และเพื่อการพัฒนาที่ดิน ให้บริการด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบและให้คําแนะนําเกี่ยวกับดิน น้ํา พืช

                   ปุ๋ยและอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน ถ่ายทอดผลการศึกษาค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนา

                   ที่ดินแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรผลงานที่เกี่ยวข้องการผลิตสินค้าเกษตร  โดยมีขั้นตอน
                   การกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสําหรับสินค้าเกษตรมีขั้นตอนในการดําเนินงาน 4  ขั้นตอน ได้แก่

                   กําหนดเป้าหมายการผลิต โดยดูจากแหล่งผลิต ปริมาณการผลิต ปริมาณความต้องการของตลาด
                   ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการผลิต เพื่อกําหนดเป็น

                   เขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตร โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ วิเคราะห์หาความเหมาะสมของพื้นที่
                   ทางด้านกายภาพสําหรับการปลูกพืชชนิดต่างๆ ซึ่งมีการจัดเตรียมข้อมูลที่เป็นปัจจัยสําคัญทางด้านกายภาพ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17