Page 10 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   ชื่อโครงการ         การจัดการดินเพี่อปลูกมันสําปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรีภายใต้
                                       โครงการนําร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาขีด
                                       ความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน

                                       Soil Management for Cassava Plantation in Soil Group 28, Saraburi Province.
                                       Pilot Project on Cash Crop Production Based on Land Use Zoning to
                                       Increase Agriculture Competitiveness in ASEAN Community.
                   กลุ่มชุดดิน/ชุดดิน   กลุ่มชุดดินที่ 28   ชุดดินลพบุรี (Loburi Series : Lb)

                   ผู้ดําเนินการ       นางวรรฒณา กรองทอง                  Mrs.Wattana Krongthong

                                                           บทคัดย่อ


                          การศึกษาการจัดการดินเพื่อปลูกมันสําปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 ชุดดินลพบุรี ในพื้นที่หมู่ 12 ตําบล
                   ลําพญากลาง อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ระยะเวลาดําเนินโครงการ 3 ปี (ปี 2557-2559) วัตถุประสงค์

                   เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการทดลอง ศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิต

                   ของมันสําปะหลังที่ใช้ปุ๋ยเคมีตามคําแนะนําแตกต่างกัน  และศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการผลิต
                   มันสําปะหลังที่ใช้เคมีตามคําแนะนําแตกต่างกัน โดยดําเนินการทดสอบแบบสังเกตการณ์ (Observation trial)

                   ประกอบด้วยวิธีการทดลอง 5  วิธีการ คือ 1.  วิธีเกษตรกร  2. วิธีเกษตรกรร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ 3. วิธี
                   คําแนะนําการใช้ปุ๋ยโปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืชร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ 4. วิธีคําแนะนําการใช้ปุ๋ยจาก

                   โปรแกรมปุ๋ยรายแปลงร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ 5. วิธีคําแนะนําจากห้องปฏิบัติการร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ

                          ผลการทดลองทั้ง 3  ปี พบว่า การปลูกมันสําปะหลัง พันธุ์ห้วยบง 60 ปี พบว่า สมบัติทางเคมีของดิน
                   ก่อนการทดลองทุกวิธีการ  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 7.1 ถึง 7.7 คือเป็นด่างเล็กน้อย และหลังการ

                   ทดลองปีที่ 3  พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีความเป็นกลางอยู่ระหว่าง 6.5  ถึง 6.8  ด้านปริมาณ
                   อินทรียวัตถุในดินก่อนการทดลองมีปริมาณสูง คือ 2.76 ถึง 2.83 และหลังการทดลองปีที่ 3 ปริมาณอินทรียวัตถุ

                   ในดินหลังการทดลองมีปริมาณสูงขึ้นทุกวิธีการ โดยวิธีการที่ 5 มีปริมาณอินทรียวัตถุสูงที่สุดคือ 4.88 เปอร์เซ็นต์

                   ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินก่อนการทดลองมีปริมาณต่ําในทุกวิธีการ และหลังการทดลองปีที่ 3 มี
                   ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงขึ้นในระดับต่ําถึงปานกลางทุกวิธีการ ซึ่งมีค่าไม่ต่างกันมากนัก ด้าน

                   ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินก่อนการทดลองอยู่ในระดับสูง ยกเว้นวิธีการที่ 5 ที่มีปริมาณต่ํา และ
                   หลังการทดลองปีที่ 3 ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินลดลงทั้ง 5 วิธีการ มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง

                          การศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่า วิธีคําแนะนําการใช้ปุ๋ยจากโปรแกรมดินไทยและ
                   ธาตุอาหารพืชร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ ให้ผลผลิตสูงที่สุดทั้ง 3 ปี คือ 4,801.99  4,767.20 และ 4,779.00
                   กิโลกรัมต่อไร่  ต้นทุนการผลิตต่อไร่ของการปลูกมันสําปะหลังในวิธีเกษตรกร มีต้นทุนการผลิตต่ําที่สุดทั้ง

                   3 ปี คือ 5,593.88  5,659.45 และ 5,666.10 บาทต่อไร่ ส่วนวิธีคําแนะนําการใช้ปุ๋ยจากโปรแกรมปุ๋ยราย
                   แปลงร่วมกับน้ําหมักชีวภาพ ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูงที่สุดทั้ง 3 ปี คือ 5,947.31  5,939.00 และ 5,959.20
                   บาทต่อไร่ ด้านรายได้สุทธิพบว่า วิธีคําแนะนําการใช้ปุ๋ยจากโปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืชร่วมกับ

                   น้ําหมักชีวภาพ มีรายได้สุทธิสูงสุดทั้ง 3 ปี คือ 4,742.98  4,683.84 และ 4,703.90 บาทต่อไร่ ตามลําดับ
                   และมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.81 ซึ่งสูงที่สุดเช่นกัน
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15