Page 16 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6



                   ตารางที่ 2 (ต่อ)

                               LAND-USE REQUIREMENT                             FACTOR  RATING

                     LAND QULITY       Diagnostic factor    unit      S1        S2          S3         N

                   Note:  Day length                          - Short day

                          Growing period                      - 12-16 month

                          Critical period (moisture)          - 2-3 month
                          Soil texture requirement of crops   - sl ,fsl

                          Others

                   ที่มา: บัณฑิต และคํารณ (2542)


                          ชุดดินลพบุรี (Lop Buri Series: Lb)  การจําแนกดิน Very-fine, smectitic, isohyperthermic

                   Typic Haplusterts การกําเนิดเกิดจากตะกอนน้ําพาที่มีแร่ดินเหนียว ส่วนใหญ่เป็นพวกมอนต์มอริลโลไนต์
                   ทับถมอยู่บนชั้นปูนมาร์ล หรือตะพักเขาหินปูน สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
                   1-5 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ําดีการไหลบ่าของน้ําบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง การซึมผ่านได้ของน้ําช้า
                   พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วต่างๆ
                   และข้าว การแพร่กระจาย ส่วนใหญ่พบทางด้านเหนือของที่ราบลุ่มภาคกลางหรือที่สูงตอนกลาง การ

                   จัดเรียงชั้นดิน Ap-Bss-BCk ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียว สีดําหรือสีเทาเข้ม
                   ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง (6.5-8.0)  ดินบนตอนล่างเป็นดินเหนียว สีดําหรือสีเทาเข้ม
                   มาก พบชั้นปูนมาร์ลในระดับลึก 80  เซนติเมตร ลงไป ในฤดูแล้งจะแตกระแหงเป็นร่อง กว้างกว่า 1

                   เซนติเมตร หรือมากกว่า ที่ความลึก 50  เซนติเมตร และรอยแตกนี้จะคงอยู่นาน จะพบรอยไถลและหน้า
                   ตัดดินมีมวลก้อนกลมปูนสะสมอยู่ทั่วไป ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลางถึงด่างจัด (8.0-9.0)   ดินล่าง
                   ตอนล่างเป็นดินเหนียว สีดําหรือสีน้ําตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (8.0)
                          การจัดการดินชุดดินลพบุรี หากปลูกพืชไร่ จะพบปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน

                   ดินขาดแคลนน้ําในการเพาะปลูกในบางช่วง การไถเตรียมดินสําหรับปลูกพืชไร่ ควรไถขวางความลาดเท
                   ของพื้นที่ และปลูกหญ้าแฝกขวางความลาดเทของพื้นที่ เพื่อช่วยชะลอการไหลบ่าของน้ําที่ผิวดินเมื่อ
                   ฝนตกหนัก ขุดบ่อดักตะกอน เพื่อช่วยชะลอการไหลบ่าของน้ําที่ผิวดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
                          สภาพทั่วไปของพื้นที่ทดลอง ตําบลลําพญากลาง อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี   มีเนื้อที่

                   ประมาณ 146.15 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 91,343.75 ไร่ โดยลักษณะภูมิประเทศลําพญากลาง มี
                   สภาพทางกายภาพเป็นภูเขาและที่ราบสูง บางหมู่บ้านเป็นที่ราบเชิงเขาการตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจาย
                   มีภูเขาและถ้ํา  อาณาเขตติดต่อทางทิศเหนือ ติดต่อกับตําบลลําสมพุง อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
                   ด้านทิศใต้ติดต่อกับตําบลจันทึก อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับตําบล

                   หนองน้ําใส อําเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และทิศตะวันตกติดต่อกับตําบลหนองย่างเสือ และตําบล
                   ซับสนุ่น อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งพื้นที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรกรรมพืชไร่
                   คือ ปลูกมันสําปะหลัง อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และโคนม
                          สภาพภูมิอากาศ สถานที่ดําเนินการ ตําบลลําพญากลาง อําเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีสภาพ

                   ภูมิอากาศในช่วงดําเนินการทดลอง คือ ระยะปลูกมันสําปะหลัง เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีความชื้น
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21