Page 11 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         1



                                                     หลักการและเหตุผล


                          เนื่องจากปัจจุบันนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คํานึงถึงศักยภาพการ
                   แข่งขันภาคการเกษตรของไทยหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN  Economic  Community:
                   AEC) เพราะภาคเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศไทย สามารถสร้างรายได้จากการส่งออก
                   ปีละหลายแสนล้านบาท เกษตรกรมีความเชี่ยวชาญในการผลิตเนื่องจากประกอบอาชีพเกษตรมาเป็น

                   เวลานาน และผู้แปรรูปสินค้าเกษตรมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการแปรรูป และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
                   และได้มาตรฐานโลก ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ของโลก
                   มาโดยตลอด

                          ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีกําหนดนโยบายเพื่อพัฒนา
                   ขีดความสามารถในการผลิตทางการเกษตรรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยแนะนําให้
                   เกษตรกรเพาะปลูกพืชตามชั้นความเหมาะสมของดิน เพื่อให้มีประสิทธิภาพผลผลิตพืชให้สูงสุดตาม
                   ศักยภาพของดินและพืช  โดยแนะนําให้เกษตรกรที่ปลูกพืชในพื้นที่ไม่เหมาะสม ปรับเปลี่ยนไปปลูก

                   พืชตามความเหมาะสมของดิน และคํานึงถึงความต้องการของตลาดตามอุปสงค์และอุปทาน โดยมุ่งเน้น
                   การตลาดเป็นสําคัญ แต่ปัจจุบันพบว่าในพื้นที่ศักยภาพสูง (S1)  และปานกลาง (S2) มีผลผลิตพืชต่ํากว่า
                   เกณฑ์ที่ควรจะเป็น และมีต้นทุนการผลผลิตสูง ดังนั้นการหาข้อมูลแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
                   ให้ได้ผลผลิตสูงตามศักยภาพของดินและพืช โดยเน้นพืชเศรษฐกิจ 6 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                   มันสําปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ํามัน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
                   ตามเขตการใช้พืชเศรษฐกิจ
                          จังหวัดสระบุรีมีการปลูกมันสําปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับสองรองจากข้าว ซึ่งมีพื้นที่ปลูก
                   ประมาณ 421,033 ไร่  โดยแบ่งเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง (S1) และปานกลาง (S2) จํานวน 55,230 ไร่ และ

                   92,969  ไร่ ตามลําดับ ดังนั้น จึงมีแนวความคิดที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตมันสําปะหลัง
                   ในพื้นที่ศักยภาพปานกลางให้มีผลผลิตปริมาณสูงขึ้นและลดต้นทุนในการผลิตลง โดยใช้เทคโนโลยีของ
                   กรมพัฒนาที่ดินและโปรแกรมการจัดการดินต่างๆ  เพื่อวิเคราะห์วิธีการที่เหมาะสมที่สุดสําหรับปลูก
                   มันสําปะหลังในพื้นที่ศักยภาพปานกลางจังหวัดสระบุรี  เพราะมีจํานวนพื้นที่ปลูกมันสําปะหลังมากที่สุด

                   ในจังหวัดสระบุรี

                                                        วัตถุประสงค์


                          1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการทดลอง
                          2. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลังที่ใช้ปุ๋ยเคมีตามคําแนะนําที่แตกต่างกัน

                          3. เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการผลิตมันสําปะหลังที่ใช้ปุ๋ยเคมีตามคําแนะนํา
                   ที่แตกต่างกัน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16