Page 18 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         8



                          โปรแกรมปุ๋ยรายแปลง คือ โปรแกรมสารสนเทศที่ให้คําแนะนําการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง
                   ถูกพัฒนาขึ้นโดยการบูรณาการข้อมูลการจัดการดินของกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับคําแนะนําการจัดการปุ๋ย
                   ตามค่าวิเคราะห์ดินของกรมวิชาการเกษตร และผลงานวิจัยการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ แล้วจึง

                   จัดทําระบบติดต่อผู้ใช้ให้สามารถคัดกรองข้อมูลได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  เกษตรกรสามารถรับ
                   คําแนะนําการใช้ปุ๋ยได้แม้ไม่ส่งตัวอย่างดินวิเคราะห์ เนื่องจากโปรแกรมมีผลวิเคราะห์ดินพื้นฐานประจํา
                   ชุดดินอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่เกษตรกรส่งดินมาตรวจวิเคราะห์กับกรมพัฒนาที่ดิน สามารถระบุผล
                   การวิเคราะห์ดินเข้าไปในโปรแกรม จะทําให้ได้คําแนะนําการจัดการปุ๋ยที่มีความจําเพาะเป็นรายแปลง ซึ่ง

                   ช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างแม่นยํายิ่งขึ้น และสามารถลดต้นทุนด้านการผลิตลง ก่อให้เกิด
                   ความคุ้มค่าในการลงทุน ตลอดจนให้กําไรสูงสุด โดยวิธีการใช้โปรแกรมปุ๋ยรายแปลง  ให้เข้าไปที่โปรแกรม
                   “ปุ๋ยรายแปลง”  จะมีหัวข้อให้เลือก คือ การจัดการดินและปุ๋ย จากนั้นเลือกสถานที่ตั้งของแปลงแยกเป็น

                   รายจังหวัด อําเภอ ตําบล และเลือกชุดดินที่ต้องการ (ซึ่งชุดดินเกษตรกรสามารถสอบถามได้ที่
                   เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน) ระบบจะปรากฏชนิดพืชที่ต้องการคําแนะนํา เมื่อเลือกข้อมูลครบแล้ว ผลลัพธ์
                   จะแบ่งเป็นการจัดการดินและการจัดการปุ๋ย จากนั้นกดเข้าไปที่การจัดการดิน ระบบจะแสดงลักษณะ
                   ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และวิธีการจัดการดินสําหรับปลูกพืช  หรือ กดเข้าไปที่การจัดการปุ๋ย ระบบจะ
                   แสดงปริมาณธาตุอาหารที่พืชต้องการต่อไร่ ช่วงเวลาและวิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม หากต้องการ

                   รายละเอียดเพิ่ม ให้กดที่คําแนะนําเพื่อให้โปรแกรมแสดงสูตรและอัตราปุ๋ยที่ต้องใช้ เพื่อให้ได้ธาตุอาหาร
                   ตามคําแนะนํา (กองสํารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน, 2557)
                          การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินจากห้องปฏิบัติการ คือการเก็บตัวอย่างดินก่อนการปลูกมันสําปะหลัง

                   แล้วนําส่งห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร เพื่อนํามาแปลผลการใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยเคมี
                   ตามค่าวิเคราะห์ดิน คือ การใช้ปุ๋ยตามคําแนะนําที่ได้จากการนําเฉพาะผลวิเคราะห์ธาตุอาหารหลัก (N  P
                   และ K)  ความเป็นกรดเป็นด่างในดินที่เป็นปัจจุบัน  มาเทียบกับคู่มือที่นักวิจัยได้จัดทําไว้ เพื่อได้รับ
                   คําแนะนําการใช้ปุ๋ยที่สอดคล้องกับปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน และความต้องการธาตุอาหารของพืช

                   ซึ่งทําให้การใช้ปุ๋ยเคมีตามปริมาณที่เหมาะสมสําหรับมันสําปะหลัง คุ้มค่าและคุ้มทุนสูงสุด โดยการใช้
                   ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์จะได้รับคําแนะนําจากนักวิทยาศาสตร์ทางดินว่าควรจะใส่ปุ๋ยในอัตราเท่าไร  เมื่อใด
                   โดยยึดค่าวิเคราะห์ดินและชนิดพืชเป็นหลัก เพื่อให้มีผลสูงสุดในการปลูกมันสําปะหลังในแต่ละวิธีการ
                   (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)

                          น้ําหมักชีวภาพ เป็นของเหลวที่ได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ลักษณะสด
                   อวบน้ํา หรือมีความชื้นสูงโดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ทั้งในสภาพที่มีอากาศและมีอากาศน้อย น้ําหมัก
                   ชีวภาพที่ได้จะมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ําตาล ซึ่งประกอบด้วย กรดอินทรีย์ (organic acid) กรดอะมิโน
                   (amino acid) กรดฮิวมิก (humic acid) วิตามิน (vitamins) ฮอร์โมน (growth hormones) และแร่ธาตุ

                   (minerals)  ทั้งนี้ช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช กระตุ้น
                   การงอกของเมล็ด และช่วยย่อยสลายตอซังพืช การผลิตน้ําหมักชีวภาพสูตรของกรมพัฒนาที่ดิน มี 2 สูตร
                   คือ น้ําหมักชีวภาพจากผักและผลไม้ และน้ําหมักชีวภาพจากปลาหรือหอยเชอรี่ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์

                   พด.2  ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ไขมัน ช่วยลดกลิ่นเหม็น
                   ระหว่างหมักและเพิ่มการละลายธาตุอาหารในการหมักเพื่อผลิตน้ําหมักชีวภาพ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5
                   สายพันธุ์ ได้แก่  ยีสต์ผลิตแอลกอฮอร์และกรดอินทรีย์ แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก แบคทีเรียย่อยสลาย
                   โปรตีน  แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน และแบคทีเรียละลายอนินทรียฟอสฟอรัส (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23