Page 17 - การจัดการดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 28 จังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการนำร่องการผลิตพืชตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมอาเซียน
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         7



                   สัมพัทธ์ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ย 50-70 มิลลิเมตร และในช่วงการเจริญเติบโตเดือนมิถุนายน
                   ถึงพฤศจิกายน สภาพภูมิอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 75-80 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ย 500-700
                   มิลลิเมตร  และระยะเก็บเกี่ยวมันสําปะหลังในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ สภาพภูมิอากาศมีความชื้น

                   สัมพัทธ์เฉลี่ย 60-65 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณน้ําฝนเฉลี่ย 100-150  มิลลิเมตร (สถานีตรวจวัดปริมาณ
                   น้ําฝนอําเภอมวกเหล็ก, 2559)
                          มันสําปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 เป็นพันธุ์มันสําปะหลังที่พัฒนาโดยความร่วมมือของนักวิชาการจาก
                   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสําปะหลังแห่งประเทศไทย มันสําปะหลังพันธุ์ห้วย

                   บง 60    เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ระยอง 5 และพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เริ่มในปี พ.ศ. 2534 โดยมี
                   รหัสชื่อเดิมคือสายพันธุ์ MKUC  34-114-206   และเข้าสู่ขบวนการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยการคัดเลือกพันธุ์
                   ตั้งแต่ พ.ศ. 2535-2540 และทําการทดสอบพันธุ์ใน พ.ศ. 2541-2544  ในท้องที่ 10 จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูก

                   มันสําปะหลัง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี
                   ระยอง และกาญจนบุรี รวมจํานวน 30 การทดลอง ผลการทดสอบพันธุ์พบว่า พันธุ์ห้วยบง 60 ให้ผลผลิต
                   หัวสดเฉลี่ย 5,750 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีปริมาณแป้งในหัวเฉลี่ย 25.40 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยที่ได้
                   สูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดในประเทศในขณะนั้นอยู่ 7 เปอร์เซ็นต์ และมี
                   ปริมาณแป้งในหัวสูงกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50  อยู่เล็กน้อย นอกจากนั้นพันธุ์ห้วยบง 60  ยังมีเสถียรภาพ

                   ของผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวสูง สามารถปลูกได้ทั่วไปในเขตปลูกมันสําปะหลัง สามารถสกัดแป้งจาก
                   หัวสดได้มาก แป้งมีสีขาวและมีความหนืดสูง     เหมาะสําหรับอุตสาหกรรมแป้งและอุตสาหกรรม
                   ต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังเป็นพันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกดี ลําต้นสูงใหญ่ สามารถคลุมวัชพืชได้ดี อีกทั้งยัง

                   มีความต้านทานโรคใบจุดได้ดี
                          สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมันสําปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 คือ ลักษณะดิน
                   ร่วนปนทรายหรือดินเหนียวปนร่วน มีการระบายน้ําดี ปริมาณธาตุอาหารที่จําเป็นสําหรับมันสําปะหลัง
                   พันธุ์ห้วยบง 60  ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างต้องมีค่าปานกลางถึงด่างเล็กน้อย ธาตุอาหารที่เป็น

                   ประโยชน์ ตามคําแนะนําของพันธุ์มันสําปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60  คือ ไนโตรเจน 4  กิโลกรัมต่อไร่
                   ฟอสฟอรัส 4  กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 4 กิโลกรัมต่อไร่ (สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย
                   เกษตรศาสตร์, 2558)
                          โปรแกรมดินและธาตุอาหารพืช  คือโปรแกรมสําเร็จรูปที่ได้พัฒนามาจากฐานข้อมูลกลุ่มชุดดินที่มี

                   อยู่ทั้งหมดในประเทศไทย ระดับมาตราส่วน 1: 50,000 โดยโปรแกรมจะมีข้อมูลดิน สภาพพื้นที่ ความลาดชัน
                   ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ความเหมาะสมในการปลูกพืช คําแนะนําสูตรปุ๋ยและอัตราการใช้
                   คําแนะนําการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน สําหรับเกษตรกรที่ยังไม่มีการวิเคราะห์ดินในแปลงของตนเอง
                   พัฒนาโดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยความร่วมมือระหว่าง กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร

                   กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร เริ่มดําเนินงานตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551  และปรับปรุงเรื่อยมาเพื่อ
                   ประโยชน์แก่เกษตรกรทั้งประเทศ โดยวิธีการใช้โปรแกรมดินและธาตุอาหารพืช  อันดับแรกเกษตรกรต้อง
                   ทราบชุดดินในแปลงของตนเอง จากแผนที่ของกรมพัฒนาที่ดิน แล้วนํามาเข้าชุดข้อมูลดิน แผนที่และบัญชี

                   ธาตุอาหารและคําแนะนําการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพตามค่าวิเคราะห์ดิน (กองสํารวจดินและวิจัย
                   ทรัพยากรดิน, 2557)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22