Page 90 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 90

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        72


                   เศรษฐกิจสูงที่สุดเช่นกัน ดังนั้นใน 2 ปีแรกที่ท าการปรับปรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ยังไม่
                   สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตยางพาราหรือให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจได้ จนกระทั่งในปีที่ 3 ที่มีการใส่ปุ๋ยเคมี

                   ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ติดต่อกันนาน 3 ปี พบว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ตามค่า
                   วิเคราะห์ดินดังวิธีที่ 3 นั้นให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด

                          ในการศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีนั้น จะต้องค านึงในปัจจัยหลายๆด้านประกอบกัน
                   เช่น การใช้ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน (วิธีที่ 1) แม้จะมีต้นทุนผันแปรถูกที่สุด ตลอดทั้ง 3 ปี ที่

                   ท าการทดสอบ แต่ในระยะยาวการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วยแก้ไขข้อจ ากัด ในการปลูกยางพาราบน
                   พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ที่มีคุณสมบัติเป็นดินตื้น มีชั้นลูกรัง เศษหิน หรือก้อนกรวด ปะปนภายในความลึก
                   50 เซนติเมตรจากผิวดิน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการชอนไชหาน้ า และอาหารของรากพืช รากพืชชอนไชไปดูดน้ าและ

                   อาหารอย่างจ ากัด นอกจากนี้การที่ดินตื้นมีชั้นลูกรังปะปนมาก ท าให้มีปริมาณเนื้อดินน้อย จึงขาดแคลนน้ าและ
                   มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า  ดังนั้นในการแก้ไขข้อจ ากัดของดินจ าเป็นต้องมีการปรับปรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์

                   ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและความอุดมสมบูรณ์ลงไปในดิน ท าให้
                   ดินมีโครงสร้างดีขึ้น สามารถอุ้มน้ าและธาตุอาหารไว้ในดินได้นาน รากพืชชอนไชหาอาหารเพื่อการเจริญเติบโต

                   และสร้างผลผลิตได้เพิ่มขึ้น และในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการปรับปรุงบ ารุงดินนั้น ต้องค านึงถึงต้นทุนการผลิต
                   ปุ๋ยอินทรีย์ด้วย เพราะปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารต่ าจึงต้องใช้ในปริมาณมากเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี ในปริมาณ

                   เนื้อปุ๋ยที่เท่ากัน ถึงแม้เกษตรกรจะสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์เองได้ แต่การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมากจะมี
                   ค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าแรงและการขนส่งเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นควรเลือกใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายและมีปริมาณมากใน
                   ท้องถิ่นเป็นหลักส าหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ นอกจากนี้ยังควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อให้ตรงกับความ

                   ต้องการของพืช และเป็นการลดต้นทุนจากการใส่ปุ๋ยในปริมาณมากเกินความต้องการของพืชอีกด้วย
                          สรุป แนวทางในการจัดการดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกยางพาราปานกลาง (S2) ของ จังหวัดตราด

                   คือ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อให้ตรงกับปริมาณความต้องการของพืช และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
                   โดยพบว่าปริมาณอินทรียวัตถุในดิน เป็นตัวแปรหลักในการปรับปรุงคุณภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และเพิ่ม

                   ปริมาณผลผลิตยางพารา  ซึ่งอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมคือ ใช้ปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์
                   ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 25 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยใส่ติดต่อกันเป็นระยะ 3 ปี จึงจะให้ผลตอบแทนทาง

                   เศรษฐกิจสูงที่สุด  มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าการใส่ปุ๋ยตามวิธีการของเกษตรกร 655 บาทต่อไร่ต่อปี หรือ 9.23
                   เปอร์เซ็นต์  แนวทางในการลดต้นทุนการผลิตยางพาราในพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ของจังหวัดตราดนั้น จึง
                   เป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์เอง ด้วยวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และมี

                   ปริมาณมาก เพื่อลดต้นทุนจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และเพื่อเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับ
                   ปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วนที่เหมาะสมตามค่าวิเคราะห์ดิน ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด จึงท าให้เกษตรมี

                   รายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าการใส่ปุ๋ยตามวิธีการของเกษตรกร
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95