Page 89 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 89

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        71


                   4.4 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
                          จากตารางที่ 26 ในปี 2559 การใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน (วิธีที่ 2) ให้

                   ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรสูงที่สุดคือ 9,786 บาทต่อไร่ต่อปี และให้ปริมาณผลผลิตยางพาราเฉลี่ยต่อ
                   ไร่ต่อปีสูงที่สุดด้วยคือ 444 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรในวิธี

                   ที่ 2 และวิธีที่3 กับวิธีที่ 1 ที่ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตร พบว่าวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์
                   ดินให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรมากกว่าวิธีที่ 1 ที่ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร 8.21 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวิธีที่

                   3 ใส่ปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 25 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลตอบแทนเหนือ
                   ต้นทุนผันแปรน้อยกว่าวิธีที่ 1 ที่ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร 7.79 เปอร์เซ็นต์
                          ต่อมาในปี 2560 (ตารางที่ 27) วิธีการใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดินยังคงให้

                   ปริมาณผลผลิตยางเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีสูงที่สุดคือ 487 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผัน
                   แปรสูงที่สุดด้วยคือ 11,698 บาทต่อไร่ต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรในวิธีที่ 2

                   และวิธีที่3 กับวิธีที่ 1 ที่ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตร พบว่าวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดินให้
                   ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรมากกว่าวิธีที่ 1 ที่ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร 6.58 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวิธีที่ 3 ใส่

                   ปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 25 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุน
                   ผันแปรน้อยกว่าวิธีที่ 1 ที่ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร 1.83 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ใน 2 ปีแรกของการ

                   ทดสอบ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินยังไม่สามารถเพิ่มผลผลิตยางพาราหรือให้
                   ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจได้ เพราะการใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน (วิธีที่2) โดยไม่มี
                   การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วยนั้น ให้ปริมาณผลผลิตยางพาราเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีสูงที่สุด และให้ผลตอบแทนเหนือ

                   ต้นทุนผันแปรสูงที่สุดด้วยเช่นกัน
                           แต่ในปี 2561 ที่ได้ท าการทดสอบอย่างต่อเนื่องติดกันเป็นปีที่ 3 (ตารางที่ 28) พบว่าวิธีการใส่ปุ๋ย

                   ที่ให้ปริมาณผลผลิตยางพาราเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีสูงที่สุดคือ  วิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับปุ๋ย
                   อินทรีย์ 25 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิต 483 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และวิธีนี้ยังให้ผลตอบแทน

                   เหนือต้นทุนผันแปรสูงที่สุดด้วยคือ  7,755  บาทต่อไร่ต่อปี ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ย
                   อินทรีย์ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี ในอัตราที่เหมาะสมเป็นแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตยางพารา

                   ในแง่ของการท าให้เกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรสูงที่สุดมากกว่าการใส่
                   ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน (วิธีที่ 2)  9.67 เปอร์เซ็นต์ และการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร (วิธีที่1)
                   9.23 เปอร์เซ็นต์

                          สรุปผลจากการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เป็นระยะเวลา 3 ปี ที่ท าการทดลอง ตั้งแต่ปี
                   พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2561 ในปีแรกการใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน (วิธีที่ 2) ให้ปริมาณ

                   ผลผลิตยางพาราเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุด และมีผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรสูงที่สุดด้วยเช่นกัน ต่อมาในการ
                   ทดลองปีที่ 2 การใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน (วิธีที่ 2) ก็ยังคงให้ผลตอบแทนทาง
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94