Page 95 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 95

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       77







                       เป็นการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ตรงกับความต้องการของพืชดังเช่นวิธีที่ 2 และ 3 ที่ปริมาณ
                       ฟอสฟอรัสในดินหลังการทดสอบมีค่าสูงกว่าและเพียงพอกับความต้องการของพืช นอกจากนี้แล้วการ
                       ที่ฟอสฟอรัสในดินมีค่าลดลงเป็นเพราะหลังการทดสอบค่าความเป็นกรดด่างในดินที่มีค่าลดลงหรือดิน

                       มีความเป็นกรดมากขึ้นจึงท าให้ฟอสฟอรัสถูกตรึงจากฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปเป็นประโยชน์ (Available
                       phosphorus;  avail.P ) กลายเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายน้ าและพืชไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ท า

                       ให้ผลวิเคราะห์ดินหลังการทดสอบมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินลดลง ส่วนปริมาณ
                       โพแทสเซียมในดินหลังการทดสอบมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปีในทุกวิธี  เพราะในการเพิ่มผลผลิตพืช

                       ต้องการธาตุโพแทสเซียมเป็นจ านวนมากส าหรับใช้ในกระบวนการสร้างน้ ายางพารา โดยการเก็บ
                       ผลผลิตน้ ายางพารา 1 ตันนั้น ดินจะสูญเสียธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 20,  5  และ 25

                       กิโลกรัม ตามล าดับ ดังนั้นจึงมีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในปริมาณมาก ท าให้มีโพแทสเซียมบางส่วนที่
                       ตกค้างอยู่ในดินหลังจากที่พืชน าไปใช้ไม่หมด โดยวิธีที่ 1 ที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีปริมาณ
                       โพแทสเซียมในดินสูงกว่าวิธีที่ 2 และ 3 ที่ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินอย่างชัดเจน  แสดงให้เห็นว่าในวิธี

                       ที่ 1 มีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมมากเกินความต้องการของพืช  ค่าการน าไฟฟ้าของดินหลังการทดสอบใน
                       วิธีที่ 3 ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี มีค่าเพิ่มขึ้นสูงมากถึง 300 เปอร์เซ็นต์ เป็นเพราะขี้เถ้า

                       กาบมะพร้าวที่ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในการทดสอบครั้งนี้มีค่าการน าไฟฟ้าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ย
                       อินทรีย์ พ.ศ. 2548 ดังนั้นในระยะยาวควรปรับใช้วัสดุอินทรีย์ชนิดอื่น หรือปลูกพืชปุ๋ยสดร่วมในสวน

                       ยาง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชที่มีสาเหตุมาจาก
                       ดินที่มีค่าการน าไฟฟ้าสูงหรือดินเค็ม

                              ปริมาณผลผลิตยางพารา พบว่าใน 2 ปีแรกการใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์
                       ดิน (วิธีที่ 2)  ให้ผลผลิตยางพาราเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีสูงที่สุด แต่ในปีสุดท้าย วิธีที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับ
                       ปุ๋ยอินทรีย์ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี คือการใส่ปุ๋ยเคมี 75เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 25

                       เปอร์เซ็นต์ตามค่าวิเคราะห์ดิน (วิธีที่ 3) ให้ผลผลิตยางพาราเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีสูงที่สุด ดังนั้นการใส่
                       ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ติดต่อกัน 3 ปี สามารถเพิ่มผลผลิตยางพาราได้มากที่สุด ถึงแม้ว่าการใส่ปุ๋ย

                       อินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตยางพาราให้มากขึ้นได้ แต่ในการลดต้นทุนการ
                       ผลิตต้องค านึงถึงปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่นต้นทุนจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น
                              การศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่าในสองปีแรกการใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ตามค่า

                       วิเคราะห์ดิน (วิธีที่ 2) ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ส่วนในปีที่ 3 วิธีที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับ
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100