Page 94 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 94

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       76







                                                             บทที่ 5

                                                        สรุปผลการศึกษา


                       5.1 สรุป

                              จังหวัดตราดมีการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร ในการปลูกยางพารามากที่สุด โดยพื้นที่ที่
                       มีความเหมาะสมในการปลูกยางพาราทั้งหมด 1,065,065  ไร่ ส่วนมากเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
                       ปานกลาง (S2) จ านวน 659,796 ไร่ และอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 45C ชุดดินคลองซาก มากที่สุด จ านวน

                       190,775  ไร่  ข้อจ ากัดของชุดดินนี้คือ เป็นดินตื้นถึงลูกรัง พบเศษหินหรือก้อนกรวดภายในความลึก
                       50 เซนติเมตร จากผิวดิน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการชอนไชหาน้ า และอาหารของรากพืช รากพืชชอนไช

                       ไปดูดน้ าและอาหารอย่างจ ากัด นอกจากนี้การที่ดินตื้นมีชั้นลูกรังปะปนมาก ท าให้มีปริมาณเนื้อดิน
                       น้อย จึงขาดแคลนน้ า และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ดังนั้นในการแก้ไขข้อจ ากัดของดิน จ าเป็นต้องมีการ
                       ปรับปรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและ

                       ความอุดมสมบูรณ์ลงไปในดิน ดังนั้นจึงได้เลือกพื้นที่ทดสอบการปรับปรุงดินในแปลงยางพารา บ้าน
                       หินโคร่ง หมู่ที่ 6 ต าบลหนองโสน อ าเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งอยู่บนกลุ่มชุดดินที่ 45 ชุดดินคลอง

                       ซากและเป็นกลุ่มชุดดินที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดในจังหวัดตราด เพื่อศึกษาแนวทางการลด
                       ต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ของจังหวัดตราดต่อไป ซึ่งสรุปได้

                       ดังนี้
                            การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินในพื้นที่ด าเนินการหลังการทดสอบ พบว่าค่าความเป็น

                       กรดด่างของดินมีแนวโน้มลดลงในทุกวิธี เพราะวัตถุต้นก าเนิดดินในชุดดินคลองซากประกอบด้วยแร่
                       ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นกรดเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับเป็นดินในเขตร้อนชื้นจึงมีค่าความจุในการ
                       แลกเปลี่ยนประจุบวกหรือ CEC ต่ า  ท าให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างลดลงได้ง่ายภายหลังจากการ

                       ปรับปรุงดินด้วยปูน แต่ทั้งนี้ในวิธีที่ 3 ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีด้วยนั้น ค่าความเป็นกรด
                       ด่างของดินหลังการทดสอบลดลงน้อยที่สุด เพราะการใส่อินทรียวัตถุลงไปในดินช่วยปรับสมบัติ

                       คุณสมบัติทางเคมีของดินให้ดีขึ้น ลดความเป็นกรดของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดินหลังการทดสอบ
                       ในวิธีที่ 3 ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี พบว่ามีปริมาณอินทรียวัตถุมีค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 100

                       เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผลมาจากการใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ปี ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุใน
                       ดิน ในวิธีที่ 1 และ 2 ที่เพิ่มขึ้นหลังการทดสอบนั้น มาจากการย่อยสลายของใบยางพาราที่ผลัดใบใน

                       ฤดูแล้งของทุกปี ปริมาณฟอสฟอรัสในดินหลังการทดสอบในวิธีที่ 1 มีค่าน้อยมากที่สุด เพราะไม่ได้
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99