Page 86 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 86

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        68


                          จากตารางที่ 24 พบว่าการใส่ปุ๋ยในวิธีที่ 3 ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์นั้น ท าให้ค่าการน าไฟฟ้าของดิน
                   หลังการทดสอบมีค่าเพิ่มมากขึ้นถึง 300 เปอร์เซ็นต์ เป็นเพราะปุ๋ยอินทรีย์จากขี้เถ้ากาบมะพร้าวที่ใช้ใน

                   การทดสอบนั้น มีค่าการน าไฟฟ้า 31.7 (dS/m) ซึ่งสูงเกินค่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2548 ที่ก าหนดไว้
                   ว่าปุ๋ยอินทรีย์มีค่าการน าไฟฟ้าได้ไม่เกิน 6 (dS/m) (ตารางที่ 17) และการที่วิธีที่ 1 ที่ภายหลังการทดสอบ

                   ดินก็ปรากฏมีค่าการน าไฟฟ้าสูงเช่นกันนั้น เป็นเพราะมีการใส่ปุ๋ยมากเกินความต้องการของพืช ซึ่ง
                   สอดคล้องกับ ตารางที่ 23 ที่พบว่าการใส่ปุ๋ยในวิธีที่ 1 ท าให้มีปริมาณปุ๋ยโพแทสเซียมตกค้างในดินมาก

                   ที่สุด ส่วนวิธีที่ 2 เป็นการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินจึงมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้อง
                   ของพืช  ดังนั้นข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คือควรท าการวิเคราะห์ค่าการน าไฟฟ้าของปุ๋ยด้วย
                   นอกเหนือจากการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร เพื่อป้องกันผลกระทบที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

                   ของพืชจากปัญหาดินเค็ม (สมศรี,  2539) หากมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีค่าการน าไฟฟ้าสูงติดต่อกันในระยะ
                   ยาว

                   ตารางที่ 24 ค่าการน าไฟฟ้าของดินก่อนด าเนินการและหลังด าเนินการปี 2559-2561
                                                                     ค่าการน าไฟฟ้าของดิน (EC)
                                                                              (dS/m)
                                  วิธีการที่             ก่อนการ      ปี พ.ศ.หลังการทดสอบ     ลด/ เปอร์

                                                         ทดสอบ  2559  2560  2561  เฉลี่ย      เพิ่ม  เซ็นต์
                    1. ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร              0.02    0.03  0.06  0.03  0.04       +     100

                    (20-8-20) 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
                    2. ใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์        0.02    0.02  0.06  0.02  0.03       +     50
                       ตามค่าวิเคราะห์ดิน
                    3. ใส่ปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับปุ๋ย   0.01   0.03  0.06  0.02  0.04   +    300
                       อินทรีย์ 25 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน
                   ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์ดิน (2561)
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91