Page 83 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 83

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        65


                         จากตารางที่ 22 ปริมาณฟอสฟอรัสในดินหลังการทดสอบในวิธีที่ 1 มีปริมาณลดลงมากที่สุด เพราะ
                   ไม่ได้เป็นการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ปริมาณธาตุอาหารจึงไม่สอดคล้องกับความต้องการของพืช เมื่อพืชมี

                   การดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัสจึงลดลงมากที่สุด และถ้าหากใส่ปุ๋ยน้อยกว่าปริมาณที่พืชต้องการก็จะส่งผลกระทบ
                   ท าให้ผลผลิตลดลงตามไปด้วย  ส่วนวิธีที่ 2 และ วิธีที่ 3 เป็นการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน จึงมีธาตุอาหาร

                   เพียงพอกับความต้องการของพืช แต่วิธีที่ 3 ที่ธาตุฟอสฟอรัสในดินลดลงน้อยกว่าวิธีที่ 2 นั้น เป็นเพราะในวิธีที่
                   3 มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วยจึงช่วยเพิ่มค่า Cation Exchange Capacity, CEC) ท าให้ธาตุอาหารอยู่ใน

                   ดินได้นานและปลดปล่อยให้พืชทีละช้าๆ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ ชนวน (2538) ต่างจากวิธีที่ 2 ที่ใส่
                   ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว จึงเกิดการละลายและถูกชะล้างของปุ๋ยออกไปจากดินได้ง่าย นอกจากนี้แล้วการที่
                   ปริมาณฟอสฟอรัสในดินหลังการทดสอบมีค่าลดลง เป็นเพราะค่าความเป็นกรดด่างในดินหลังการทดสอบมีค่า

                   ความเป็นกรดด่างลดลงหรือเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่ถูกตรึงได้ง่ายในสภาพที่ดินมีความ
                   เป็นกรด เมื่อฟอสฟอรัสถูกตรึงจะเปลี่ยนรูปจากอนุมูลของสารประกอบที่เรียกว่าฟอสเฟตไอออนที่สามารถ

                   ละลายน้ าได้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (Available  phosphorus ;  avail.P ) กลายเป็น
                   สารประกอบที่ละลายน้ ายากและไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,   2548)  ดังนั้น

                   ผลวิเคราะห์ดินหลังการทดสอบจึงพบปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินลดลง จากภาพที่ 15 ปริมาณ
                   ฟอสฟอรัสในดินหลังการทดสอบมีแนวโน้มลดลงในทุกวิธี จากการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช โดยเฉพาะปี 2560

                   ที่ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสในดินเหลือน้อยมาก แต่ในช่วงปี 2561 ที่ปริมาณฟอสฟอรัสในดินเพิ่มขึ้นนั้น เพราะมี
                   การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น โดยวิธีที่ที่ 2 และวิธีที่ 3 ที่มีปริมาณฟอสฟอรัสมากกว่าวิธีที่ 1 นั้น เพราะเป็นการ
                   ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน จึงมีธาตุอาหารสอดคล้องกับความต้องการของพืชและเพียงพอในการสร้างผลผลิต


                   ตารางที่ 22 ปริมาณฟอสฟอรัสในดินก่อนและหลังการทดสอบในปี 2559-2561
                                                                   ปริมาณฟอสฟอรัสในดิน (mg/kg)
                                                                   Bray II (Bray and Kurtz, 1945)
                                  วิธีการที่             ก่อนการ      ปี พ.ศ.หลังการทดสอบ     ลด/ เปอร์

                                                         ทดสอบ  2559  2560  2561  เฉลี่ย      เพิ่ม  เซ็นต์
                    1. ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร              47.00  42.00  18.00  6.25  22.08     -   53.02
                    (20-8-20) 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี

                    2. ใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์        40.00  32.50  20.00  21.25  24.58    -   38.55
                       ตามค่าวิเคราะห์ดิน
                    3. ใส่ปุ๋ยเคมี 75 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับปุ๋ย   34.00  31.25  25.00  8.75  21.67   -   36.24
                       อินทรีย์ 25 เปอร์เซ็นต์ ตามค่าวิเคราะห์ดิน

                   ที่มา : กลุ่มวิเคราะห์ดิน (2561)
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88