Page 43 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        34


                          1. มีปัญหาขาดการทบทวนความรู้และวิธีการปฏิบัติก่อนการน าปูนโดโลไมท์ไปใช้คิดเป็นร้อยละ

                   59.80 สาเหตุเนื่องจากหมอดินอาสาในพื้นที่มีความแตกต่างกันในเรื่องชนเผ่าและความแตกต่างด้านภาษา
                   จึงท าให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสารและการรับรู้รับฟัง จึงท าให้หมอดินอาสารับรู้ถึงวิธีการใช้ปูนโดโลไมท์ไม่

                   ครบถ้วน แนวทางการแก้ไข เจ้าหน้าที่จะต้องด าเนินการถ่ายทอดและทบทวนองค์ความรู้ให้แก่
                   หมอดินอาสาเพิ่มเติมทุกครั้งก่อนการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อน าความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงดินกรดในพื้นที่

                   ท าการเกษตรของตนเองและหมอดินอาสาสามารถน าความรู้ไปเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรในหมู่บ้านของ

                   ตนเองอย่างถูกต้อง
                          2. ปัญหาเรื่องปริมาณปูนโดโลไมท์ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ คิดเป็นร้อยละ 51.96 เนื่องจาก

                   วัสดุปูนที่ได้รับการจัดสรรจากภาครัฐมีจ านวนจ ากัดไม่สมดุลกับความต้องการของหมอดินอาสาและ
                   เกษตรกรที่มีพื้นที่ท าการเกษตรที่เป็นดินกรดมีจ านวนมาก แนวทางการแก้ไข เจ้าหน้าที่ควรแนะน าวิธีการ

                   ปรับปรุงดินวิธีการอื่นร่วมกับการใช้ปูนโดโลไมท์ เช่น การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การไถกลบเศษพืชลงดิน

                   และการใช้ปุ๋ยพืชสด เป็นต้น
                          3. ปัญหาจุดขอรับบริการปูนโดโลไมท์อยู่ห่างไกลจากที่อยู่อาศัย คิดเป็นร้อยละ 27.45 เนื่องจาก

                   จังหวัดแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงท าให้การขนส่งปูนโดโลไมท์ไม่สามารถเข้าถึง
                   พื้นที่ของหมอดินและเกษตรกรได้สะดวก แนวทางแก้ปัญหา เจ้านหน้าที่ต้องส ารวจพื้นที่ส าหรับจัดส่ง

                   ปูนโดโลไมท์ให้ใกล้พื้นที่เกษตรกรมากที่สุด โดยประสานงานให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันมารับเพื่อช่วยลด

                   ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
                          4.  ปัญหาด้านการไม่รู้ข่าวสารไม่รู้ขั้นตอนในการขอรับปูนโดโลไมท์ คิดเป็นร้อยละ  24.02

                   เนื่องจากหมอดินอาสาของจังหวัดแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภูเขาสูงและความแตกต่างด้านชนเผ่า
                   และการใช้ภาษาท าให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร จึงท าให้หมอดินอาสาไม่เข้าใจขั้นตอนและวิธีการขอรับ

                   ปูนโดโลไมท์ไปใช้ แนวทางแก้ไขปัญหา เจ้าหน้าที่จะต้องหาวิธีการที่เหมาะสมและสามารถประสานงาน

                   ติดต่อสื่อสารรวมถึงท าความเข้าใจแก่หมอดินอาสาให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และควรมีการแจ้งข่าวสาร
                   แก่หมอดินอย่างต่อเนื่อง

                           5. ปัญหาด้านอื่น ๆ เช่นปัญหาขาดแรงงานในการหว่านปูนโดโลไมท์ ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในการ
                   หว่านปูนโดโลไมท์ ปัญหาเนื้อปูนไม่ละเอียดจับตัวกันเป็นก้อน ปัญหาเนื้อปูนมีความชื้นสูง ปัญหาปูนมี

                   คุณภาพต่ า และปัญหาการไม่ได้รับค าแนะน าในวิธีการใช้ ซึ่งปัญหาทั้งหมดเป็นปัญหาที่มีเป็นส่วนน้อยแต่

                   ยังต้องให้ความส าคัญในการแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคล
                   แนวทางการแก้ไข เจ้าหน้าที่ควรต้องอธิบายในตัวบุคคลนั้นให้เข้าใจในแต่ละปัญหาให้ครบถ้วน

                   และสถานีพัฒนาที่ดินต้องเพิ่มช่องทางการติดต่อระหว่างหน่วยงานกับเกษตรกรทั่วไปเพื่อเป็นทางเลือกใน
                   การให้ค าปรึกษาแก่เกษตรกรได้อย่างครบถ้วน
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48