Page 44 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        35


                   ตอนที่ 6 วิจารณ์ผลการศึกษา


                          จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของหมอดินอาสาที่มีผลต่อความรู้และ

                   การปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรด มีจ านวน 5 ปัจจัย คือ ระดับการศึกษา การติดต่อกับ
                   เจ้าหน้าที่ รายได้ทั้งหมดของครัวเรือน ประสบการณ์การใช้ปูนโดโลไมท์ และการได้รับการฝึกอบรม

                   โดยปัจจัยทั้งหมดมีผลเชิงบวก และมีความสัมพันธ์กับความรู้ และการปฏิบัติของหมอดินอาสา สรุปได้ดังนี้


                          1. ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดินกรดและการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงดินกรด
                          การศึกษาความรู้ของหมอดินอาสาเกี่ยวกับเรื่องดินกรดและการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุง

                    ดินกรด พบว่าหมอดินอาสามีความรู้เรื่องดินกรดและการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงดินกรดใน
                    ภาพรวม หมอดินอาสามีความรู้อยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 92.65 รองลงมามีความรู้อยู่ในระดับ

                    ปานกลางคิดเป็นร้อยละ 7.35 และมีความรู้อยู่ในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 0.00 มีค่าเฉลี่ยของคะแนน

                    อยู่ที่ 14.36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 18 คะแนน โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ของหมอดินอาสาอยู่
                    2 ปัจจัย คือ ระดับการศึกษา และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ โดยสามารถอธิบายปัจจัยดังกล่าวที่มี

                    ความสัมพันธ์กับความรู้ ได้ดังนี้

                          ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดของ
                   หมอดินอาสาอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  พบว่าหมอดินอาสาที่มีระดับการศึกษาสูงมีความรู้

                   ในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดมากกว่าหมอดินอาสาที่มีระดับการศึกษาต่ าอาจเป็นเพราะว่า
                   หมอดินอาสาที่ระดับการศึกษาสูงจะมีความรู้มากส่งผลให้หมอดินอาสาเกิดความเข้าใจในการใช้

                   ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรด ซึ่งสอดคล้องกับ ปรัชญา (2559) ได้ท าการศึกษาเรื่องความรู้และการ
                   ปฏิบัติในการใช้สารก าจัดศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกร จังหวัดเชียงราย พบว่าระดับการศึกษาก็เป็น

                   ปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันและก าจัดศัตรูพืชของเกษตรกร แสดงว่า

                   เกษตรกรที่มีความรู้ระดับสูงจะมีความรู้และการปฏิบัติที่ดีกว่าเกษตรกรที่มีการศึกษาต่ า
                          การติดต่อเจ้าหน้าที่ มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดของ

                    หมอดินอาสาอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  พบว่าหมอดินอาสาที่มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่มาก

                    จะมีความรู้ในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดมากกว่าหมอดินอาสาที่มีการติดต่อกับ
                    เจ้าหน้าที่น้อย อาจเป็นเพราะว่าหมอดินอาสาที่มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่มากจะมีความเข้าใจมาก

                    สามารถสอบถามความรู้ ค าปรึกษา ค าแนะน าส่งผลให้หมอดินอาสาเกิดความรู้ในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อ
                    ปรับปรุงดินกรด ซึ่งสอดคล้องกับ มณีวรรณ (2546) ท าการศึกษาเรื่องความรู้และการปฏิบัติในการผลิต

                    มะคาเดเมียของเกษตรกรชาวเขา อ าเภอเมืองปาน จังหวัดล าปาง พบว่าการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
                    เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติในการผลิตมะคาเดเมียของเกษตรกรท าให้

                    เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกมะคาเดเมียได้เป็นอย่างดี
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49