Page 45 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        36


                          2. การปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงพื้นที่ดินกรด

                          จากการศึกษาด้านการปฏิบัติในการใช้โดโลไมท์ปรับปรุงดินกรดของหมอดินอาสา ภาพรวมของ
                   การปฏิบัติมีการปฏิบัติบางครั้ง ค่าเฉลี่ยคะแนนอยู่ที่ 1.11 คะแนน จากคะแนนเต็ม 2 คะแนน โดยมีปัจจัย

                   ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติของหมอดินอาสาอยู่ 3 ปัจจัย คือ รายได้ทั้งหมดของครัวเรือน ประสบการณ์ในการ
                   ใช้ปูนโดโลไมท์ และการได้รับการฝึกอบรม โดยสามารถอธิบายปัจจัยดังกล่าวที่มีความสัมพันธ์กับ

                   การปฏิบัติได้ดังนี้

                         รายได้ทั้งหมดของครัวเรือน มีความสัมพันธ์กับปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรด
                   ของหมอดินอาสาอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  พบว่าหมอดินอาสาที่มีรายได้ทั้งหมดของ

                   ครัวเรือนมากมีการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดมากกว่าหมอดินอาสาที่มีรายได้
                   ทั้งหมดของครัวเรือนน้อย อาจเป็นเพราะว่าการมีรายได้ในครัวเรือนมากจะสามารถใช้เป็นเงินทุนในการ

                   จัดหาสิ่งอ านวยความสะดวกและจ้างแรงงานมาช่วยในการการปฏิบัติงานในด้านการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อ

                   ปรับปรุงดินกรดของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ มณีวรรณ (2546)  ท าการศึกษาเรื่อง ความรู้และการปฏิบัติ
                   ในการผลิตมะคาเดเมียของเกษตรกรชาวเขา อ าเภอปาน จังหวัดล าปาง พบว่ารายได้ของครัวเรือนมี

                   ความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการผลิตมะคาเดเมีย เนื่องจากเกษตรกรที่มีรายได้ดีจะท าให้สามารถซื้อ
                   ปัจจัยในการปลูก การดูแลรักษา ตลอดจนการจ้างแรงงานมาช่วยดูแลจึงมีผลท าให้มีการปฏิบัติมากขึ้น

                   และยังสอดคล้องกับ ธีรวิทย์ (2547) ท าการศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของเกษตรกรแบบ

                   โรงเรือนปิดในโครงการรับจ้างเลี้ยงไก่เนื้อ ในจังหวัดเชียงใหม่และล าพูน พบว่าเกษตรกรที่มีรายได้รวมสูง
                   จะมีการปฏิบัติในการเลี้ยงไก่เนื้อแบบโรงเรือนปิดที่ดีด้วย

                         ประสบการณ์การใช้ปูนโดโลไมท์  มีความสัมพันธ์กับปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุง
                   ดินกรดของหมอดินอาสาอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่าหมอดินอาสาที่มีประสบการณ์มาก

                   มีการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดมากกว่าหมอดินอาสาที่มีประสบการณ์น้อย

                   เนื่องจากการมีประสบการณ์ในการใช้ปูนโดโลไมท์มาก่อนจะท าให้รู้วิธีการใช้ปูนให้ถูกต้องตามหลัก
                   วิชาการและส่งผลให้เกิดการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์ที่ดีด้วย ซึ่งสอดคล้อง  จันทรวรรณ (2547)

                   ท าการศึกษาเรื่องความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันก าจัดแมลงศัตรูถั่วเหลืองของเกษตรกรใน
                   อ าเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรที่มีประสบการณ์การใช้สารเคมีป้องกันก าจัดแมลง

                   ศัตรูพืชมากจะมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันก าจัดแมลงศัตรูพืชได้ดีและถูกต้องในระดับที่สูงด้วย

                          การได้รับการฝึกอบรม มีความสัมพันธ์กับปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดของ
                   หมอดินอาสาอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่าหมอดินอาสาที่มีการได้รับการฝึกอบรมมากจะ

                   มีการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดมากกว่าหมอดินอาสาที่มีการได้รับการฝึกอบรมน้อย
                   แสดงให้เห็นว่าหมอดินอาสาที่ได้รับการฝึกอบรมจะมีความรู้ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติที่ดีกว่าการที่ไม่ได้รับ

                   การฝึกอบรม สอดคล้องกับงานวิจัยของ วัชรินทร์ (2551) ท าการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ

                   การใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ าที่หมักด้วยสารเร่ง พด.2 ของเกษตรกร อ าเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าความรู้ที่
                   ได้จากการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการยอมรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์

                   น้ าที่หมักด้วยสารเร่ง พด.2 ของเกษตรกร
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50