Page 46 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        37


                                                      สรุปผลการศึกษา



                          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์
                   เพื่อปรับปรุงดินกรดในพื้นที่ท าการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน  โดยศึกษาลักษณะส่วน
                   บุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมของหมอดินอาสาที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการปรับปรุงดิน
                   กรด ตลอดจนศึกษาปัญหาความต้องการรวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆของหมอดินอาสาต่องานการส่งเสริม

                   การแก้ไขปัญหาดินกรดของหน่วยงานกรมพัฒนาที่ดิน โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษามีจ านวน 204 ราย
                   โดยผลการศึกษาสามารถสรุปปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้และการปฏิบัติ รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ใน
                   การใช้ปูนโดโลไมท์โดยสรุปได้ดังนี้
                          1. ด้านความรู้ในการใช้ปูนโดโลไมท์ของหมอดินอาสา มีปัจจัยที่มีผลต่อความรู้อยู่ 2 ปัจจัย ได้แก่

                   ระดับการศึกษา และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ โดยปัจจัยทั้ง 2 ตัวมีผลเชิงบวกต่อความรู้เรื่องการปรับปรุง

                   ดินกรดของหมอดินอาสา และปัจจัยดังกล่าวยังมีผลต่อการมีความรู้เพิ่มเติมของหมอดินอาสาในด้านการ
                   ใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงดินกรด

                          2. ด้านการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์ของหมอดินอาสา มีปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติอยู่ 3 ปัจจัย

                   ได้แก่ รายได้ทั้งหมดของครัวเรือน ประสบการณ์ในการใช้ปูนโดโลไมท์ และการได้รับการฝึกอบรม
                   โดยปัจจัยทั้ง 3 ตัวมีผลเชิงบวกต่อการปฏิบติในการใช้ปูนโดโลไมท์ของหมอดินอาสา และปัจจัยดังกล่าวยัง

                   มีผลต่อการส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติที่ดีของหมอดินอาสาในการใช้ปูนโดโลไมท์ปรับปรุงดินกรด
                          3. ด้านปัญหาเกี่ยวกับการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงดินกรดของหมอดินอาสาสามารถสรุป

                   เป็นประเด็นปัญหาตามล าดับได้คือ ปัญหาด้านการขาดความรู้ความเข้าใจด้านการปฏิบัติในการใช้
                   ปูนโดโลไมท์ ปัญหาเรื่องปริมาณปูนโดโลไมท์ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ปัญหาจุดขอรับบริการ

                   ปูนโดโลไมท์อยู่ห่างไกลจากที่อยู่อาศัย ปัญหาด้านการไม่รู้ข่าวสารไม่รู้ขั้นตอนในการขอรับปูนโดโลไมท์

                   และปัญหาอื่น ๆ โดยปัญหาทังหมดผู้วิจัยได้เสนอแนวคิดและแนวทางการแก้ไขไว้ข้างต้นเพื่อสามารถ
                   น ามาปรับใช้ในแผนการท างานด้านการส่งเสริมการปรับปรุงดินกรดให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร

                   ต่อไป

                                                         ข้อเสนอแนะ



                          จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เสนอข้อคิดเห็นบางประการอันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนใน
                   การท างานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการให้ความรู้ ให้ค าแนะน าแก่หมอดินอาสาและ

                   เกษตรกรทั่วไป เพื่อให้หมอดินอาสาและเกษตรกรทั่วไปได้รับความรู้ และมีวิธีการปฏิบัติในการใช้
                   ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้นรวมทั้งอาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยครั้ง

                   ต่อไป ในด้านต่างๆ ดังนี้

                          1. จากการศึกษาความรู้และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดของ
                   หมอดินอาสา พบว่าหมอดินอาสาส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับสูง แต่ส าหรับการปฏิบัติ ยังมีเกษตรกรที่

                   ปฏิบัติเป็นบางครั้ง ดังนั้นในการส่งเสริมควรเน้นให้ความรู้แก่เกษตรกรเรื่องคุณสมบัติของปูนโดโลไมท์
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51