Page 47 - ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับปรุงดินกรดพื้นที่ทำการเกษตรของหมอดินอาสาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        38


                   การใช้ปูนควรใส่ตามค่าวิเคราะห์ดิน และใส่ปูนในดินที่มีความชื้นที่เหมาะสมแล้วท าการไถหรือคลุกปูนให้

                   เข้ากับดิน และควรมีการแนะน าเกษตรกรให้ศึกษาค่าความเป็นกรดเป็นด่างความต้องการของพืชแต่ละ
                   ชนิดในการเจริญเติบโตก่อนการใส่ปูน เพื่อให้หมอดินอาสาหรือเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการ

                   ปฏิบัติให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
                          2. เจ้าหน้าที่ควรมีการให้ค าแนะน าหรือการจัดอบรมให้ความรู้ให้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายใน

                   การส่งเสริมการปรับปรุงดินกรดก่อนที่เกษตรกรจะน าเอาปูนโดโลไมท์ไปใช้ในพื้นที่ท าการเกษตรเพื่อให้

                   เกษตรกรมีความรู้และแนวทางการปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์ปรับปรุงดินกรดอย่างถูกต้องตาม
                   หลักวิชาการรวมถึงการจัดท าแปลงสาธิตร่วมกับการจัดท าสื่อประชาสัมพันธ์ในเรื่องการใช้ปูนโดโลไมท์ใน

                   การปรับปรุงดินกรดให้แก่หมอดินอาสาและเกษตรกรทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะท าให้ระดับความรู้ของ
                   หมอดินอาสาและเกษตรกรเพิ่มขึ้น และเกิดการน าไปปฏิบัติในการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงดินกรด

                   ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


                   ข้อเสนอแนะในการท าวิจัยครั้งต่อไป

                          1. การศึกษาครั้งนี้ เน้นศึกษาเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่เป็นหมอดินอาสาในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
                   เท่านั้นเพราะหมอดินอาสาเป็นผู้ประสานงานโดยตรงระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินมี

                   หน้าที่ในการรับข้อมูลข่าวสารจากกรมพัฒนาที่ดินไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรทั่วไปซึ่งหมอดินอาสาเปรียบได้

                   กับการเป็นตัวแทนของเกษตรกรทั่วไปที่กระจายอยู่ทุกหมู่บ้านในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนั้นการวิจัยครั้ง
                   ต่อไปเพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุมควรศึกษาเกษตรกรทุกรายที่มาขอรับบริการปูนโดโลไมท์ไปใช้ปรับปรุง

                   ดินกรดร่วมด้วย
                          2. จากการศึกษาครั้งนี้ มีข้อสอบถามที่เกี่ยวกับเรื่องการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการใช้ปูน

                   การใช้ปูนตามค่าวิเคราะห์ดิน และเรื่องการเก็บตัวอย่างดินก่อนและหลังการปลูกพืช ซึ่งจากผลการศึกษา
                   หมอดินอาสายังให้ความส าคัญในเรื่องการตรวจวิเคราะห์ดินน้อยมากจึงควรศึกษาในเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อ

                   การยอมรับและการปฏิบัติในเรื่องการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการใช้ปูนโดโลไมท์ การใช้ปุ๋ยเคมี และ

                   การปลูกพืชร่วมด้วย

                                                      ประโยชน์ที่ได้รับ



                          1. สามารถน าผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางการท างานของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินน าไปใช้ใน
                   การก าหนดวิธีการถ่ายทอดความรู้ และก าหนดทิศทางการวางแผนการด าเนินงานในการส่งเสริมการใช้

                   ปูนโดโลไมท์ปรับปรุงดินกรดในพื้นที่ท าการเกษตรของหมอดินอาสาและเกษตรกรทั่วไปในพื้นที่
                   จังหวัดแม่ฮ่องสอนและพื้นที่อื่น ๆ ที่มีลักษณะของบุคคลและลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมใกล้เคียงกัน

                   ซึ่งจะท าให้หมอดินอาสาซึ่งเป็นอาสาสมัครงานด้านการพัฒนาที่ดินและเกษตรกรทั่วไปได้รับความรู้ที่
                   ถูกต้องในการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับปรุงดินกรด และก่อให้เกิดการใช้ที่ดินในการเกษตรได้อย่างมี

                   ประสิทธิภาพสูงสุดและยั่งยืน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52