Page 87 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 87

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       77







                                   3. กลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่
                                    ที่ตั้ง  363 หมู่ 4 ต าบลหนองจ๊อม อ าเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
                                    ผู้ประสานงานระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม  นายดวงรัตน์ ญานะ
                                    สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จ ากัด เกิดขึ้นจากบทเรียนของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่

                       เชียงใหม่ ล าพูน ที่ท าการเกษตรในระบบเกษตรแผนใหม่ หรือเกษตรเชิงเดี่ยวที่เน้นปริมาณของผลผลิต
                       เพื่อการส่งออก  ซึ่งต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตภายนอกไร่นาและชุมชน เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีปูองกัน
                       ก าจัดโรคและแมลง วัชพืช เน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูงและ
                       เป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้เกษตรกรยากจนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น สุขภาพร่างกายทรุดโทรมจากการท างานหนัก

                       และพิษภัยของสารเคมี สิ่งแวดล้อมถูกท าลาย อาหารกลายเป็นแหล่งสะสมของสารพิษต่างๆ  ท าให้
                       มีสมาชิกจ านวนหนึ่งเปลี่ยนมาผลิตการเกษตรในระบบเกษตรอินทรีย์ ตั่งแต่ปี 2536 ก่อตั้งเป็น ชมรม
                       ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ยกระดับเป็น “สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จ ากัด” เมื่อ
                       วันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้กับสมาชิก  เพื่อให้สมาชิกมีความ

                       เป็นอยู่ที่ดี  มีรายได้ที่มั่นคง และยั่งยืน โดย ณ ปัจจุบันนี้มีจ านวนสมาชิกทั้งหมด 300 กว่าคน ใน
                       พื้นที่ 5 อ าเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย อ าเภอพร้าว อ าเภอแม่แตง อ าเภอดอยสะเก็ด
                       อ าเภอสันก าแพง และอ าเภอสะเมิง การผลิตเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับ

                       บริบทของพื้นที่ แหล่งน้ า ที่อยู่อาศัย ผลิตผลส่วนมากเป็นพืชผักพื้นบ้าน ผักผลไม้เมืองหนาว เช่น
                       สตรอเบอรี่ อโวคาโด เสาวรส  ผักตามฤดูกาล และข้าว ด้านการตลาด มีการด าเนินงานในหลาย
                       ช่องทาง ได้แก่ ช่องทางร้านค้าของสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ ช่องทางงานแฟร์ เทศกาลต่างๆ
                       และช่องทางตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ (1) ตลาดในโรงเรียนดาราวิทยาลัย จ าหน่าย
                       ทุกวันพุธ เวลา 14.00-18.00 น. (2) ตลาดในโรงเรียนปริ้นส์ จ าหน่าย ทุกวันศุกร์ เวลา 14.00 -

                       18.00 น. (3) ตลาดนัด เจเจอิ่มบุญ จ าหน่ายทุกวันพุธ และวันเสาร์ เวลา 05.00 - 11.00 น. (4)
                       ตลาดในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ าหน่ายทุกวันจันทร์  วันพุธและวันศุกร์ เวลา 10.00 - 17.00 น. (5) หมู่บ้าน
                       Land  and  House  สาขาแม่โจ้ จ าหน่ายทุกวันเสาร์ เวลา 15.00 - 18.00 น. (6) ตลาดข่วงเกษตร

                       อินทรีย์ จ าหน่ายทุกวันจันทร์ อังคาร พฤหัส และเสาร์ โดยกลุ่มมีการประชุมการจัดการวางแผนการ
                       ผลิตและการตลาด และก าหนดให้สมาชิกไปจ าหน่ายหมุนเวียนกันในตลาดนัดเกษตรกร  6  แห่ง
                       ดังกล่าว
                                      ต่อมาสมาชิกสหกรณ์จ านวนหนึ่งได้มีความเห็นร่วมกันว่า พี จี เอส จะเป็นแนวทาง

                       ที่ยั่งยืน พึ่งตนเองได้ตลอดห่วงโซ่จึงได้สมัครเป็นกลุ่ม พี จี เอส เดิมจ านวน 57  ครอบครัว 7 อ าเภอ
                       ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรอ าเภอสันก าแพง  8 คน อ าเภอดอยสะเก็ด 11 คน อ าเภอแม่แตง 23 คน
                       อ าเภอสารภี 3 คน อ าเภอสันทราย 3 คน อ าเภอพร้าว 8 คน  และอ าเภอสะเมิง 1 คน  ในปีต่อมามี
                       สมาชิกเพิ่มเติมเป็นคนรุ่นใหม่เพิ่มเป็น 99  ครอบครัว เนื่องจากเกษตรกรส่วนมากมีการท าเกษตร

                       อินทรีย์มายาวนานเกิน 10  ปีขึ้นไป มีส่วนน้อยที่เริ่มท าไม่ถึง 5  ปี และส่วนมากได้รับการรับรอง
                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) การได้รับการรับรอง พี จี เอส ท าให้ขยายช่องทางตลาดสู่
                       ผู้บริโภคภาคอี่นๆได้ ด้านกระบวนการกลุ่ม พี จี เอส ได้คัดเลือกผู้ประสานงานกลุ่มย่อย และ
                       คณะกรรมการตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน ซึ่งมีความช านาญและท าเกษตรอินทรีย์มามากกว่า 10  ปี

                       มาวางแผนตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อนสลับพื้นที่กัน จนครบในรอบแรกแล้วตัดสินกันในที่ประชุมกลุ่ม
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92