Page 86 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 86

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       76







                                   2. กลุ่ม PGS สุขใจออร์แกนิค
                                  ที่ตั้ง  21 หมู่ 2 ต าบลยายชา อ าเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
                                  ผู้ประสานงานระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม นายชฤทธิพร  เม้งเกร็ด
                                  ความเป็นมาของกลุ่มนี้ เมื่อ 5  ปีก่อน เกิดจากแนวคิดตรงกันระหว่างผู้ประกอบการ

                       โรงแรมและกลุ่มเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนจากเกษตรเคมีมาสู่เกษตรอินทรีย์ และมีแนวร่วมจาก
                       หน่วยงานรัฐ มหาวิทยาลัยในท้องถิ่น โรงเรียน วัด และ ส านักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้าง
                       สุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นองค์กรในก ากับของรัฐสนับสนุนงบประมาณให้กับมูลนิธิสังคมสุขใจ เกิดเป็น
                       โครงการเรียกว่า“สามพรานโมเดล”โครงการประชารัฐ (Public-Private-Partnership)

                       มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแหล่งอาหารในชุมชนด้วยเกษตรอินทรีย์ เกิดตลาดรวบรวมผลิตผล ส่งตรง
                       โรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์ และสวนสามพรานได้จัดให้มีสถานที่จ าหน่ายผลิตผลของเกษตรกรมา
                       ขายตรงให้ผู้บริโภค  (Farmer  market) ทุกเสาร์อาทิตย์ เรียกว่า ตลาดสุขใจ ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็น
                       โรงแรมที่สนับสนุนผลิตผลเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในท้องถิ่น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                       นอกจากนี้ยังน าเกษตรกรมาเปิดขายตรงให้ผู้บริโภคในส านักงานใหญ่ธนาคาร และเกิดเป็นสมาชิก
                       shopping online ใช้ระบบ electronic ให้เกิดผู้บริโภคสนับสนุนผู้ผลิตโดยตรง รู้แหล่งผลิตอาหาร
                       ด้วยสายโซ่การขนส่งสั้นที่สุด

                                  เนื่องจากผลิตผลเกษตรอินทรีย์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ปัจจุบันกลุ่ม
                       อินทรีย์สุขใจ  พี จี เอส ขยายพื้นที่เป็น 11  กลุ่มย่อย มีสมาชิก 131  ครอบครัว ครอบคลุมพื้นที่ 3  จังหวัด
                       ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม กลุ่มพี่น้องสองต าบล กลุ่มเกษตรอินทรีย์บางช้าง กลุ่มหอมเกร็ด กลุ่มหิน
                       มูล กลุ่มคลองโยง-ลานตากฟูา กลุ่มคลองบางแก้ว กลุ่มพัฒนายั่งยืน กลุ่มข้าวอินทรีย์สุขใจ จังหวัด
                       ประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มชุมชนเป็นสุขปุาละอู จังหวัดราชบุรี กลุ่มเกษตรอินทรีย์ร่มเย็น และ จังหวัด

                       กาญจนบุรี กลุ่มเกษตรอินทรีย์ไทรโยค ผลิตผลหลัก ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าว และปศุสัตว์ ไข่ไก่ เป็นต้น
                       สมาชิกแต่ละกลุ่มมีการประชุมกันทุกเดือน โดยมีตัวแทนสามพรานโมเดลจากมูลนิธิสังคมสุขใจ เข้า
                       ร่วมด้วยในการวางแผนการผลิตและการตลาดร่วมกัน โดยหมุนเวียนประชุมกลุ่ม ณ แปลงผลิตของ

                       สมาชิก ในระหว่างวันประชุมทุกคนจะได้ร่วมกันตรวจประเมินแปลงของเพื่อนสมาชิกและเกิดการ
                       แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน รวมทั้งการเรียนรู้การตรวจหาสารเคมีก าจัดศัตรูพืชตกค้างในพืชผักด้วย
                       การใช้ test kit เพื่อพัฒนาปรับปรุงแนวกันชน และการปูองกันสารเคมีจากแปลงเพื่อนบ้าน จากการ
                       สนับสนุนของส านักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

                                  กระบวนการตรวจและรับรองของกลุ่มประจ าปี จะมีการแต่งตั้งผู้ตรวจประเมินแปลง
                       จากกลุ่มย่อย ร่วมกันตรวจเยี่ยมแปลงเพื่อน (peer review) กลุ่มแรกที่ผ่านการรับรอง PGS คือกลุ่ม
                                    +
                       พี่น้องสองต าบล (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่มทฤษฎีใหม่หัวใจอินทรีย์)  เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ท าเกษตร
                       อินทรีย์มาเป็นเวลานาน   มีกระบวนการกลุ่มที่เข้มแข็งในการคัดกรองสมาชิกและการตรวจประเมิน

                       ผู้ผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็ง ในขณะที่กลุ่มที่เหลืออยู่ในระหว่างการตรวจประเมินครั้ง
                       แรก และส่วนมากอยู่ในระยะปรับเปลี่ยน (Transition period)
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91