Page 90 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 90

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       80







                       รูปภาพการปฏิบัติ การสื่อสารได้ทุกมิติของการเรียนรู้ และเผยแพร่ข่าวสารการฝึกอบรมของ
                       หน่วยงานต่างๆให้สมาชิกที่สนใจได้มีโอกาสไปเรียนรู้ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเมล็ดพันธุ์
                       การซื้อขายผลิตผล เป็นต้น
                                  2. เกิดการรวบรวมผลิตผลส่งหรือน ามาขายที่ตลาดเกษตรกรหรือส่งผู้ประกอบการ

                       (Collective market in bulk and distribution to market or trader) เนื่องจากมีการสร้าง
                       ความมั่นใจให้กับลูกค้า กลุ่มที่ผู้บริโภคยอมรับผลผลิตที่มีการตรวจสอบรับรองกัน ท าให้มีการสั่งซื้อ
                       ต่อเนื่อง รวมทั้งการน ามาจ าหน่ายยังตลาดนัดเกษตรกร ท าให้ผู้บริโภคเข้าถึงช่องทางการซื้อสินค้า
                       เกษตรอินทรีย์ มีช่องทางสื่อสารกันโดยตรงท าให้ผู้ผลิตรู้ความต้องการของผู้บริโภค มีผลท าให้เกิดการ

                       ผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เช่น
                                   - กลุ่มเชียงใหม่ สมาชิกอ าเภอพร้าว ซึ่งอยู่ห่างจากตลาดนัดในเมืองกว่า 100
                       กิโลเมตร ผู้น ากลุ่มจะรวบรวมผลผลิต ข้าว ผัก ผลไม้ตามฤดูกาล มาจ าหน่ายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3
                       วัน ที่ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์  (ตลาดจริงใจมาร์เก็ตและข่วงเกษตรอินทรีย์) หลังจากมีระบบ PGS มี

                       ลูกค้าเพิ่มขึ้นท าให้ยอดจ าหน่ายได้มากกว่าเดิม 30-50%
                                   - กลุ่มสหกรณ์ทัพไทยสุรินทร์  มีการรวบรวมผลิตผลของสมาชิกที่ไม่สามารถไป
                       จ าหน่ายด้วยตนเองที่ตลาดนัด เช่น ผัก ปลา ไก่ สุกร เพื่อน ามาแปรรูปเป็นอาหารขายที่ตลาดนัดสี

                       เขียวทุกวันเสาร์ของสัปดาห์ และรวบรวมข้าวของสมาชิก น ามาสีในโรงสีของกลุ่มและท าตลาดขาย
                       ตรงให้กับสมาชิก ได้แก่สมาชิกที่เป็นองค์กร ร้านจัดจ าหน่ายในกรุงเทพ และกลุ่มโรงแรมชั้นน า โดยมี
                       การตลาดสั่งซื้อล่วงหน้า เดือนละประมาณ 7-10 ตัน มูลค่ากว่า 2 - 3 แสนบาท/เดือน
                                   - กลุ่ม PGS  สุขใจออร์แกนิค มีกลุ่มเกษตรกรกลุ่มย่อย 11 กลุ่ม ภายใต้โครงการสาม
                       พรานโมเดลร่วมกับธุรกิจโรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์ มูลนิธิสังคมสุขใจ ด้วยการสนับสนุนงบประมาณ

                       จาก ส านักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนการรวมกลุ่มและรวบรวม
                       ผลิตผล ผัก ผลไม้ ข้าว จ าหน่ายหลายช่องทาง ได้แก่ ตลาดนัดสุขใจทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตลาดนัด
                       ส านักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ โรงแรม โดยใช้กระบวนการ PGS  คัดกรองเกษตรกรที่ร่วม

                       โครงการให้ผลิตเป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคด้วยการจัดให้
                       ผู้บริโภคได้เข้าเยี่ยมฟาร์มของเกษตรกร
                                   - กลุ่มแม่มอก  ล าปาง  เป็นสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์  รวบรวมแปร
                       รูป และสมุนไพรแห้งให้กับโรงพยาบาล และลูกค้า

                                   - กลุ่มปลูกฮักยโสธร มีการรวมกลุ่มกันรวบรวมแตงโมไปขายให้กับห้างสรรพสินค้า
                       ได้แก่ Tops Markets  Villa market  มีการพัฒนาแปรรูปแตงโมอินทรีย์เป็นน้ าแตงโม  แยมแตงโม
                       และไอศครีมแตงโม   การปลูกแตงโมรูปหัวใจเพื่อเพิ่มมูลค่า การจัดท าช่องทางการตลาดออนไลน์
                       ฯลฯ ปัจจุบันผลผลิตแตงโมอินทรีย์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

                                  3. การเก็บเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านและการแลกเปลี่ยนซื้อขายเมล็ดพันธุ์ (Collective
                       seed  management  and  conservation) เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านเป็นความมั่นคงทางอาหารของ
                       ชุมชน และภุมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกที่ทนทานต่อ
                       สภาพแวดล้อม และยังท าให้เกิดความหลากหลายของอาหารการกินที่สอดคล้องกับรสนิยม

                       วัฒนธรรมของคนในชุมชน รวมทั้งพืชบางชนิดเป็นทั้งอาหารและยา (Nutraceutical function) เช่น
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95