Page 85 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 85

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       75







                       หมู่บ้าน ปัจจุบันมีสมาชิกปัจจุบัน 156 ครอบครัว  ครอบคลุมพื้นที่ 2 อ าเภอ คือ อ าเภอปราสาทและ
                       อ าเภอเมือง  มีพื้นที่รวม 1,765   ไร่ รูปแบบการผลิต เป็นการปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ผสมผสาน
                       (Integrated crop-livestock organic farming system) กิจกรรมปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลกัน
                       เพื่อพึ่งปัจจัยการผลิตภายในกลุ่มมากที่สุด ได้แก่ ผลพลอยได้จากพืช เช่น ฟางข้าว พืชหลังนา

                       ร า ปลายข้าว น ามาเป็นอาหารสัตว์ และปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ใช้ปรับปรุงดิน ท าให้ลดต้นทุนการท า
                       การเกษตร และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากสินค้าปศุสัตว์ สินค้าหลัก ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ 105 มะลิแดง หอม
                       นิล ไรซ์เบอรี่ และปกาอ าปึล (ข้าวพันธุ์พื้นเมืองสุรินทร์)  ประมาณ 700 ตันข้าวสารต่อปี สุกรขุน 600
                       ตัวต่อปี  ไก่พื้นเมือง 5,400  ตัวต่อปี เป็ด 2,700  ตัวต่อปี  รวมทั้งไข่ไก่ ปลา พืชหลังนา ถั่วเขียว

                       แตงโม และผัก ผลไม้พื้นบ้านชนิดต่างๆ ตามฤดูกาล
                                    กระบวนการกลุ่ม คณะกรรมการกลุ่มมีการประชุมปรึกษาหารือกันเดือนละหลายครั้ง
                       และการวางแผนการตรวจและรับรองตามหลักการ พี จี เอส กลุ่มได้แต่งตั้งผู้ตรวจประเมินกลางของ
                       กลุ่ม (Group’s inspector) ที่ผ่านการฝึกและปฏิบัติเกษตรอินทรีย์มาอย่างยาวนาน และเชิญอาจารย์

                       จากมหาวิทยาลัย และหน่วยงานกรมปศุสัตว์ในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงในการตรวจเยี่ยมแปลงเพื่อน (Peer
                       review) โดยสมาชิกทุกฟาร์มได้รับการตรวจปีละ 3  รอบ ก่อนการตัดสินให้การรับรองโดยกลุ่ม
                       นอกจากนี้กลุ่มได้จัดให้มีวันผู้ผลิตพบผู้บริโภคทุกปี (Open  farm  to  consumers) เพื่อแสดงความ

                       โปร่งใส และประชาสัมพันธ์กลุ่มให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้มี องค์กร หน่วยงาน กลุ่มเกษตรกร
                       มาศึกษาดูงานของกลุ่มปีละไม่ต่ ากว่า 3,000 คน
                                  ด้านการร่วมมือกับองค์กร หน่วยงาน เนื่องจากกลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย
                       มีความเข้มแข็ง มีผู้น าที่มีแนวคิดพัฒนากลุ่มอย่างต่อเนื่อง ผลงานเป็นที่ประจักษ์ สามารถด าเนินการ
                       ด้านการตลาดด้วยกลุ่มชุมชนร่วมมือกันจากฐานราก สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ดี มีคนได้ประจ าจากการ

                       จัดการตลาดในชุมชน และตลาดขายตรงให้ผู้บริโภคที่อยู่ไกล ท าให้มีองค์กรหน่วยงานรัฐให้การ
                       สนับสนุนตามบทบาทหน้าที่ เช่นสนับสนุนโรงฆ่าสัตว์ขนาดเล็ก โรงสีข้าวและลานตากเมล็ดพันธุ์ และ
                       ปรับปรุงถนนทางเข้าหมู่บ้าน รวมทั้งได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบใน

                       โครงการเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชด าริ โครงการคนกล้าคืนถิ่น เป็นต้น การได้รับการรับรอง
                       PGS ท าให้สามารถขยายช่องทางตลาดได้มากขึ้น โดยเฉพาะข้าว 5 สายพันธุ์ มีการจัดส่งแบบขายตรง
                       ให้กับองค์กร โรงแรม ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคบุคคลในกรุงเทพมหานคร โดยการสีข้าวใหม่ๆ
                       ทุกสัปดาห์ นอกจากนี้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชมงคล วิทยาเขต

                       สุรินทร์และเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกันเปิดร้าน Organic Outlet ภายในมหาวิทยาลัย
                       ราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์ เพื่อเป็นสถานที่จ าหน่ายสินค้าของกลุ่มและเป็นร้านอาหารอินทรีย์
                       บริหารจัดการโดยคณะกรรมการของกลุ่มเกษตรกร และเชื่อมโยงเป็นจุดส่งเสริมการท่องเที่ยว กลุ่ม
                       สุรินทร์มีศักยภาพในการขยายฐานการผลิตได้มากกว่านี้เนื่องจากมีตลาดรองรับการบริโภคข้าว

                       อินทรีย์ และด้านการผลิตมีเกษตรกรรายย่อยจ านวนมากสนใจเข้าร่วมกลุ่มอินทรีย์ PGS  แต่ทั้งนี้
                       จะต้องมีคณะกรรมการประสานงานที่บูรณาการกันในพื้นที่ที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการร่วมวางแผนการ
                       ผลิต การรับประกันคุณภาพ และการจัดการตลาดร่วมกันเป็นห่วงโซ่
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90