Page 76 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 76

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       66







                       หน่วยตรวจรับรองแล้ว ควรจะพิจารณาให้เป็นผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS  หรือคัดเลือก
                       ให้เป็นผู้ตรวจประเมินฟาร์มของกลุ่มฯ
                                  1.2 การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อ
                       การผ่านการรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วม  แม้จะมีอิทธิพลในระดับต่ า  แต่ผลการศึกษาก็แสดงให้

                       เห็นว่าเกษตรกรในกลุ่มที่ได้เข้าร่วมอบรมมีจ านวนผู้ที่ผ่านการรับรอง PGS  มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้า
                       ร่วมอบรม  ดังนั้นการจัดฝึกอบรมหลักสูตรด้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์จึงมีความจ าเป็นที่จะต้อง
                       ด าเนินการต่อไป โดยให้ความส าคัญกับการพัฒนาหลักสูตรให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อ
                       ผู้เข้ารับการอบรมมากที่สุด

                                  1.3  ระยะเวลาในการท าเกษตรอินทรีย์และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้ง
                       ภาครัฐและเอกชนมีผลต่อการผ่านการรับรอง PGS  ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปจนสามารถผ่าน
                       การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ในที่สุด  กรมพัฒนาที่ดินควรจัดท าโครงการสนับสนุนกลุ่ม
                       เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์เป็นประจ าต่อเนื่องทุกปี โดยให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

                       ไม่น้อยกว่า 3 ปี  ทั้งนี้ต้องพิจารณากลุ่มเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีความตั้งใจจริงในการ
                       ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์
                              2. ท าให้เชื่อมั่นว่าการส่งเสริมให้เกษตรกรท าการผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบการรับรอง

                       แบบมีส่วนร่วม (PGS)  ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการ
                       เกษตร และขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ได้ในราคาที่สูงกว่าเดิม  ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
                                 3. กลุ่มเกษตรกรมีโอกาสเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น
                       จากเดิมที่จ าเป็นต้องขอการรับรองจากหน่วยตรวจรับรองภายนอกเท่านั้น (Third Party)  แต่ปัจจุบัน
                       กลุ่มเกษตรกรสามารถเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ โดยการใช้กระบวนการรับรอง

                       แบบมีส่วนร่วม (PGS)  ซึ่งเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มเกษตรกรในแต่ละ
                       ท้องถิ่น เสียค่าใช้จ่ายน้อย  และยังช่วยเสริมสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืน
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81