Page 43 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       33







                              จากตารางที่ 3  เมื่อพิจารณาข้อมูลจ านวนเกษตรกรตัวอย่างที่ผ่านและไม่ผ่านการ
                       รับรอง PGS ของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างภายในจังหวัด ทั้ง 6 จังหวัด  สามารถจ าแนกออกเป็น 4 กลุ่ม
                       ดังนี้
                                   1. กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่มีจ านวนเกษตรกรผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

                       แบบมีส่วนร่วม (PGS) มากกว่าจ านวนเกษตรกรที่ไม่ผ่านการรับรอง PGS  ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
                       เกษตรอินทรีย์แม่มอก จังหวัดล าปาง  โดยเกษตรกรตัวอย่างจ านวน 40 คน  มีผู้ผ่านการรับรอง PGS
                       จ านวน 34 คน  คิดเป็นร้อยละ 85  ผู้ไม่ผ่านการรับรอง PGS  มีจ านวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 15
                       เหตุผลเนื่องมาจากกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์แม่มอก  เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืช

                       สมุนไพร และไม่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการผลิตพืชสมุนไพร   นอกจากนี้สมาชิกอยู่ใน
                       ต าบลเดียวกันและอยู่ไม่ไกลกันมาก  จึงสามารถเดินทางไปเยี่ยมฟาร์มกันได้สะดวก ส่งผลให้การเข้า
                       ร่วมทดลองระบบ PGS   เกษตรกรส่วนใหญ่จึงมีโอกาสสูงในการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตร
                       อินทรีย์แบบมีส่วนร่วม

                                   2. กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่มีจ านวนเกษตรกรผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       แบบมีส่วนร่วม (PGS) ใกล้เคียงกับจ านวนเกษตรกรที่ไม่ผ่านการรับรอง PGS  มีจ านวน 3 กลุ่ม ได้แก่
                       กลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จังหวัดสุรินทร์  กลุ่ม พี จี เอส สุขใจออร์แกนิค จังหวัดนครปฐม

                       และกลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่
                                     2.1 เกษตรกรตัวอย่างจังหวัดสุรินทร์จ านวน 87 คน  มีผู้ผ่านการรับรอบ PGS
                       จ านวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 55.2  ผู้ไม่ผ่านการรับรอง PGS มีจ านวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 44.8
                       เหตุผลที่จ านวนผู้ผ่านและไม่ผ่านการรับรอง PGS ภายในกลุ่ม มีจ านวนใกล้เคียงกัน เนื่องจากสมาชิก
                       ที่ไม่ผ่านการรับรองยังไม่ท าตามข้อก าหนดของกลุ่ม เช่น การเข้าร่วมประชุมกลุ่ม  การจัดท าเอกสาร

                       บันทึกที่จ าเป็น (เอกสารแผนการผลิต)  แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่จะเข้าใจเรื่องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       เป็นอย่างดีแล้ว แต่เมื่อไม่ปฏิบัติตามกฎกติกาของกลุ่ม จึงท าให้มีสมาชิกที่ยังไม่ผ่านการรับรอง PGS
                                     2.2 เกษตรกรตัวอย่างจังหวัดนครปฐมจ านวน 24 คน ผ่านการรับรอง PGS จ านวน

                       14 คน  คิดเป็นร้อยละ 58.3  ผู้ไม่ผ่านการรับรอง PGS มีจ านวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 41.7 เหตุผล
                       ที่จ านวนผู้ผ่านและไม่ผ่านการรับรอง PGS ภายในกลุ่ม มีจ านวนใกล้เคียงกัน เนื่องจากกลุ่มนี้สมาชิก
                       ที่ไม่ผ่านการรับรองจะเป็นผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นท าการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ ยังมีความเข้าใจมาตรฐาน
                       เกษตรอินทรีย์ไม่มากพอ  และพื้นที่ข้างเคียงส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีเป็นจ านวนมาก ท าให้ต้องท า

                       แนวกันชนเพิ่มเติม เป็นสาเหตุให้เกษตรกรส่วนหนึ่งยังไม่ผ่านการรับรอง PGS
                                     2.3 เกษตรกรตัวอย่างจังหวัดเชียงใหม่จ านวน 75 คน ผ่านการรับรอง PGS จ านวน
                       41 คน คิดเป็นร้อยละ 54.7  ไม่ผ่านการรับรอง PGS  จ านวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 45.3 เหตุผล

                       ที่จ านวนผู้ผ่านและไม่ผ่านการรับรอง PGS  ภายในกลุ่ม มีจ านวนใกล้เคียงกัน เนื่องจากสมาชิกที่ไม่
                       ผ่านการรับรองเป็นเกษตรกรรายใหม่ที่สนใจในการขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ยังไม่มี

                       ความรู้ความเข้าใจเรื่องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์  เกษตรกรส่วนหนึ่งไม่ท าตามข้อก าหนดของ
                       กระบวนการ PGS จึงท าให้ไม่ผ่านการรับรอง PGS
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48