Page 30 - วิธีวิเคราะห์ไนเตรทอย่างง่ายในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาสกัด Mehlich I
P. 30
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
ตารางที่ 4 ค่าการดูดกลืนแสงของสารละลายมาตรฐานไนเตรท 5.0 และ 10.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
จากการเติม Mixed powder ปริมาณ 0.02, 0.04, 0.08 และ 0.12 กรัม ตามล าดับ
ความเข้มข้น ค่าเฉลี่ยของค่าการดูดกลืนแสง ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ไนเตรท ปริมาณของ Mixed powder (กรัม)
(มิลลิกรัมต่อลิตร) 0.02 0.04 0.08 0.12
5.0 1.23 0.02 0.94 0.02 0.20 0.01 0.20 0.01
10.0 2.44 0.01 2.38 0.01 0.47 0.01 0.38 0.01
หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานได้จากการทดสอบซ้ า 5 ครั้ง
1.3 ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์
จากการตั้งทิ้งไว้เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์ที่เวลา 5, 10, 15, 20, 25 และ 30
นาที ตามล าดับ ผลการศึกษา พบว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์ คือ 5 นาที
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ท าให้เกิดความแตกต่างของสีได้ชัดเจน และเมื่อตั้งสารละลายทิ้งไว้ตั้งแต่ 5 นาทีขึ้น
ไป หากสังเกตด้วยสายตาสีของสารละลายจะเหมือนเดิม ดังแสดงในภาพที่ 8 โดยค่าการดูดกลืนแสงจะ
เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งสอดคล้องกับการสแกนด้วยเครื่อง UV-Vis Spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น
530 นาโนเมตร จากกราฟระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์ของการวิเคราะห์ไนเตรทที่ 5 นาที
ให้ค่าการดูดกลืนแสง (Abs) คิดเป็นร้อยละ 95 ของระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์ ดังแสดง
ในภาพที่ 9 และค่าการดูดกลืนแสงมีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานไนเตรท ดัง
แสดงในตารางที่ 5 และตารางผนวกที่ 5 และ 6 และจากการศึกษาเพิ่มเติม พบว่า ปฏิกิริยาของการ
วิเคราะห์ไนเตรทจะคงที่อยู่ได้ถึง 2 ชั่วโมง 20 นาที ดังแสดงในภาพผนวกที่ 2
5 10 15 20 25 30 นาที
ภาพที่ 8 แสดงสีของสารละลายมาตรฐานไนเตรทจากการตั้งทิ้งไว้เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์
ที่เวลา 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที ตามล าดับ