Page 28 - วิธีวิเคราะห์ไนเตรทอย่างง่ายในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาสกัด Mehlich I
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
ผลการทดลอง
1. การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาของการวิเคราะห์ไนเตรท
ปัจจัยที่ท าการศึกษา คือ ปริมาณของสารเคมี ได้แก่ ปริมาตรของ Reagent A, ปริมาณของ
Mixed powder และระยะเวลาที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์ ผลที่ได้จากการศึกษา
มีดังนี้
1.1 ปริมาตรของ Reagent A
จากการเติม Reagent A ลงในสารละลายมาตรฐานไนเตรทความเข้มข้น 5.0 และ 10.0
มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาตร 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิลิตร ตามล าดับ ผลการศึกษา พบว่า ปริมาตร
ของ Reagent A มีผลเพียงเล็กน้อยกับความเข้มของสีของสารละลายมาตรฐานไนเตรท ดังนั้น ปริมาตร
Reagent A ที่เหมาะสม คือ 0.5 มิลลิลิตร ซึ่งเป็นปริมาตรสารที่น้อยที่สุดที่ท าให้เกิดความแตกต่างของ
สีของสารละลายมาตรฐานไนเตรท ดังแสดงในภาพที่ 6 และค่าการดูดกลืนแสงมีความสัมพันธ์กับความ
เข้มข้นของสารละลายมาตรฐานไนเตรท ดังแสดงในตารางที่ 3 และตารางผนวกที่ 1 และ 2
Std. NO 3 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร Std. NO 3 10.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
0.5 1.0 1.5 2.0 มิลลิลิตร 0.5 1.0 1.5 2.0 มิลลิลิตร
(a) (b)
ภาพที่ 6 แสดงสีของสารละลายมาตรฐานไนเตรทความเข้มข้น 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (a) และ
10.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (b) จากการเติม Reagent A ปริมาตร 0.5, 1.0, 1.5 และ
2.0 มิลลิลิตร ตามล าดับ