Page 28 - การจัดการปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตมะละกอฮอลแลนด์ในดินทราย
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18
0.08 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามล าดับ โดยกรดอะมิโนมีบทบาทส าคัญต่อพืช เช่น ไกลซีนเป็น
องค์ประกอบพื้นฐานในการสร้างเนื้อเยื่อพืช และการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ท าให้การสังเคราะห์แสง
เพิ่มขึ้น เมตไทโอนีนเป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมน และโปรลีนลดสภาวะความเครียดในต้นพืช
(Garcia et al., 2011) (ดังตารางภาคผนวกที่ 5)
2. สมบัติทางเคมีดินก่อนและหลังการทดลอง
ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินก่อนการทดลองที่ระดับความลึก 0 -15 เซนติเมตร พบว่า ดินมี
อินทรียวัตถุต่ าเท่ากับ 0.64 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณฟอสฟอรัสในดินต่ าเท่ากับ 9.00 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม ส่วนปริมาณโพแทสเซียมในดินสูงเท่ากับ 74.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีปริมาณแคลเซียม
และแมกนีเซียมในดินต่ าเท่ากับ 816.00 และ 131.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ดังตาราง ที่ 1
หลังการทดลองได้มีการเก็บตัวอย่างดินทุกแปลงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตมะละกอ ที่ระดับความ
ลึก 0 – 15 เซนติเมตร โดยสุ่มเก็บบริเวณโคนต้น 2 จุด ห่างจากต้น 30 เซนติเมตร แล้วน ามา
รวมกันวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดิน พบว่า
2.1 อินทรียวัตถุในดิน จากการทดลองพบว่า อินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นมีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียวในต ารับที่ 4 หรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี
ครึ่งหนึ่งตามค าแนะน า ปุ๋ยเคมีอัตราตามค าแนะน า (ต ารับที่ 8 และ 6) มีอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น
2.70 2.49 และ 2.32 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ สูงกว่าต ารับการทดลองที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ทั้งที่ใช้ปุ๋ย
ชีวภาพเดี่ยว ๆ หรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราตามค าแนะน า หรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตาม
ค าแนะน า (ต ารับที่ 3 5 และ 7) ทุกต ารับการทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพมีอินทรียวัตถุในดิน หลัง
สิ้นการทดลองมีปริมาณเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 0.93 – 1.23 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าต ารับที่มีการใส่ปุ๋ยเคมี
เพียงอย่างเดียว (ต ารับที่ 2) และไม่ใส่ปัจจัยใดๆ (ต ารับที่ 1) มีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน 0.66 และ
0.63 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ ดังตารางที่ 1
จากการทดลองพบว่า ต ารับที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก หรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี มีอินทรียวัตถุหลัง
สิ้นสุดการทดลองสูงกว่าต ารับที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพ หรือใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี ทั้งนี้เนื่องมาจากการทดลองมี
ปริมาณการใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 20 กิโลกรัมต่อต้น มากกว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพ 5 กิโลกรัมต่อต้น ส่งผล
ให้ดินหลังการทดลองต ารับที่ใช้ปุ๋ยหมักมีอินทรียวัตถุสะสมในดินสูงกว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพ สอดคล้อง
กับการทดลองของ Dinesh et al. (2010) ทดสอบการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ย
ชีวภาพ และปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวที่มีผลต่อการปลูกขมิ้นชัน โดยก าหนดให้มีปริมาณไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมอัตรา 9.60 8.00 และ 19.20 กิโลกรัมต่อไร่ ในทุกต ารับการทดลอง
พบว่า ต ารับการใช้ปุ๋ยหมัก ร่วมการใส่ปุ๋ยเคมีมีอินทรียวัตถุเพิ่มมากที่สุด 2.17 เปอร์เซ็นต์
ไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพมีอินทรียวัตถุ 1.94 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยเคมีอย่าง
เดียวมีอินทรียวัตถุ 1.69 เปอร์เซ็นต์ ส าหรับการปลดปล่อยไนโตรเจนจากการใช้ปุ๋ยหมัก ร่วมกับ