Page 39 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           28




                  2. วิธีการดําเนินงาน

                        ขั้นตอนการสํารวจจําแนกดิน เพื่อจัดทําฐานข้อมูลดิน และแผนที่ดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ําสาขา
                  น้ําแม่ต้า (ลุ่มน้ํายม) โดยหลักการดําเนินงานสําคัญ ประกอบด้วย 1) การรวบรวมและเตรียมข้อมูลพื้นฐาน
                  2) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3) การสํารวจจําแนกดิน เก็บข้อมูล และตัวอย่าง
                  ดินในภาคสนาม 4) การวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทําแผนที่ดิน และ 5) ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน จําแนก

                  ความเหมาะสมของดินสําหรับพืช และจําแนกความเหมาะสมของดินด้านปฐพีกลศาสตร์ แสดงดังภาพที่ 2

                        2.1 การรวบรวมและเตรียมข้อมูล

                             รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่มีความจําเป็น และเกี่ยวข้องกับลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า ได้แก่ แผนที่สภาพ
                  ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 จัดทําโดยกรมแผนที่ทหาร ลําดับชุดที่ L7018 จํานวน 4 ระวาง
                  ประกอบด้วยระวาง 4945I  4945II 5045IV และ 5045III แผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:250,000 และ

                  1:50,000 ของกรมทรัพยากรธรณี แผนที่สภาพการใช้ที่ดินของจังหวัดแพร่ และจังหวัดลําปาง ปีพ.ศ. 2559
                  ในระบบภูมิสารสนเทศของกรมพัฒนาที่ดิน แผนที่มาตรฐานการแบ่งลุ่มน้ําหลัก และลุ่มน้ําสาขาของประเทศไทย
                  มาตราส่วน 1:50,000 ชุด L7018 Datum WGS84 UTM Zone 47N ของกรมทรัพยากรน้ํา ข้อมูลสภาพทางน้ํา
                  และแหล่งน้ํา ข้อมูลสภาพภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งแบ่งออกเป็นข้อมูลน้ําฝน และอุณหภูมิระหว่าง

                  ปีพ.ศ. 2531 - 2560 โดยข้อมูลดังกล่าวครอบคลุมบริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า อีกทั้งข้อมูลแผนที่ และรายงาน
                  สํารวจดินระดับชุดดิน มาตราส่วน 1:100,000 และระดับกลุ่มชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 จังหวัดแพร่ และ
                  จังหวัดลําปาง รวมถึงการตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างดิน และการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ
                  ภูมิศาสตร์ในการจัดทําแผนที่ดิน

                        2.2 การศึกษากระบวนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

                             วิเคราะห์ข้อมูลและขอบเขตดินของแผนที่ดินฉบับเดิมในระดับชุดดิน มาตราส่วน 1:100,000

                  และระดับกลุ่มชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 ร่วมกับข้อมูลสภาพภูมิประเทศ ได้แก่ ข้อมูลแบบจําลอง
                  ระดับสูงเชิงเลข (DEM) เส้นชั้นความสูง (contour) ความลาดชัน (slope) และการตกกระทบของแสง (hillshade)
                  เพื่อสร้างขอบเขตหน่วยแผนที่ต้นร่างใหม่ และกําหนดแนวจุดศึกษาดินให้เป็นตัวแทนของแต่ละสภาพพื้นที่
                  และลักษณะทางธรณีวิทยา

                             โดยศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สําหรับ

                  การสร้างชั้นข้อมูลพื้นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลสภาพพื้นที่ด้วยวิธีการวิเคราะห์พื้นผิว (surface analysis)
                  รวมถึงใช้ในการวางแนวจุดศึกษาดิน อีกทั้งมีการนําคําสั่ง Model Builder มาร่วมใช้ในการสร้างแบบจําลอง
                  สําหรับช่วยให้ผู้ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติ โดยจัดทําเป็นแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS สําหรับ
                  การสํารวจดินในบริเวณพื้นที่สูง เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและศักยภาพในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล (สุเพชร, 2555)


                        2.3 การสํารวจจําแนกดินและเก็บตัวอย่างดินในภาคสนาม
                             2.3.1 สํารวจสภาพพื้นที่และลักษณะดินเบื้องต้น (initial survey)


                                ดําเนินการสํารวจสภาพพื้นที่และลักษณะดินตามแนวจุดศึกษาดินที่กําหนด โดยใช้สว่าน
                  เจาะดิน (augering) และหน้าตัดดินตามแนวถนน (road cut) ลึกประมาณ 2 เมตร หรือถึงชั้นหินพื้น
                  โดยวิธีการศึกษาดินตามมาตรฐานของ Soil Survey Manual (Soil Science Division Staff, 2017)
                  บันทึกข้อมูล และภาพถ่ายของสภาพแวดล้อมบริเวณพื้นที่ศึกษา ได้แก่ พิกัดตําแหน่งของจุดเก็บตัวอย่าง
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44