Page 158 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 158

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          136



                        3.2 ปริมาณขนาดอนุภาคดินและอินทรียวัตถุ กับค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติกในชั้นดินบน

                           จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง ดินเหนียว และ
                  อินทรียวัตถุ กับค่าขีดจํากัดของเหลวในชั้นดินบน (ตารางที่ 55) พบว่า ปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง
                  และดินเหนียวมีสหสัมพันธ์กับค่าขีดจํากัดของเหลวในชั้นดินบนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) และ

                  ปริมาณอินทรียวัตถุไม่มีสหสัมพันธ์กับค่าขีดจํากัดของเหลว โดยค่าขีดจํากัดของเหลวมีสหสัมพันธ์สูงในทางลบ
                  กับปริมาณอนุภาคขนาดทราย (r = - 0.778*, n = 47) ในขณะที่มีสหสัมพันธ์ในทางบวกกับปริมาณอนุภาค
                  ขนาดทรายแป้ง (r = 0.480*, n = 47) และปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวในระดับสูง (r = 0.868*, n = 47)

                           เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง ดินเหนียว และอินทรียวัตถุ
                  กับค่าดัชนีพลาสติกในชั้นดินบน พบว่า ปริมาณอนุภาคขนาดทรายมีสหสัมพันธ์สูงในทางลบกับค่าดัชนี

                  พลาสติกในชั้นดินบน (r = - 0.731*) ดังตารางที่ 56 ในขณะที่ปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว และทรายแป้ง
                  กลับมีสหสัมพันธ์ในทางบวกกับค่าดัชนีพลาสติกในชั้นดินบนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) มีค่า
                  สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.831* และ 0.439* ตามลําดับ และปริมาณอินทรียวัตถุไม่มีสหสัมพันธ์กับ

                  ค่าดัชนีพลาสติก แสดงความสัมพันธ์ของปริมาณขนาดอนุภาคดิน และอินทรียวัตถุ มาทํานายค่าขีดจํากัด
                  ของเหลวในชั้นดินบน คือ LL = -203.553+2.049(%sand)+2.073(%silt)+3.169(%clay)+0.143(%OM)
                  และค่าดัชนีพลาสติก คือ PI = -184.177+1.815(%sand)+1.815(%silt)+2.369(%clay)+0.012(%OM)
                  (ตารางที่ 54)

                           ผลการศึกษาการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสมการในข้างต้น พบว่า ประสิทธิภาพของสมการใน

                  การทํานาย เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติกในชั้น
                  ดินบนที่วิเคราะห์ได้ในห้องปฏิบัติการ กับค่าที่ได้จากการทํานาย มีค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ (R ) เท่ากับ
                                                                                                     2
                  0.765 และ 0.684 ตามลําดับ ชี้ให้เห็นว่า สมการที่พัฒนาในข้างต้นมีความน่าเชื่อถือในการทํานาย 76.5 และ
                  68.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ (ภาพที่ 26)


                           จากความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวกับค่าขีดจํากัดของเหลวในชั้นดินบน
                  สูงกว่าตลอดหน้าตัดดิน อาจเนื่องมาจากปัจจัยของปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ซึ่งมีผลต่อค่าขีดจํากัดของเหลว
                  ทําให้มีระดับความเชื่อมั่นสูงขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาของ Larney et al. (1988) พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุ
                  ในดินมีความสัมพันธ์สูงกับค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก ในกรณีศึกษาเฉพาะชั้นดินบน (Ap) ของดิน

                  จาก 12 แปลงทดสอบ ที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวอยู่ในช่วง 12.5-26.3 เปอร์เซ็นต์ โดยความสัมพันธ์
                  ระหว่างปริมาณอินทรียวัตถุกับค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติกมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r)
                  เท่ากับ 0.88* และ 0.80* ตามลําดับ ซึ่งการศึกษาของ De Jong et al. (1990) พบว่า การกักเก็บน้ําเป็น
                  ตัวชี้วัดที่ดีสําหรับค่าขีดจํากัด Atterberg โดยทั่วไปค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ

                  ของดินกับค่าดัชนีพลาสติกมีค่าต่ํากว่าสมบัติของดินกับค่าขีดจํากัดของเหลว

                           สอดคล้องกับการศึกษาของ Dumbleton and West (1966) ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดิน
                  เหนียวกับค่าขีดจํากัดของเหลว พบว่า ปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวที่เพิ่มขึ้นทําให้ค่าขีดจํากัดของเหลวเพิ่ม
                  มากขึ้นด้วย ซึ่งการเพิ่มปริมาณน้ําจะทําปฏิกิริยากับอนุภาคของดินเหนียวมากกว่าอนุภาคของทรายและ

                  ทรายแป้ง นอกจากนี้ ตัวอย่างดินที่มีร้อยละของปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวเท่ากัน ในดินที่มีแร่ดินเหนียว
                  มอนต์มอริลโลไนต์ (montmorillonite) เป็นองค์ประกอบหลักจะมีค่าขีดจํากัดของเหลวมากกว่าดินที่มีแร่ดิน
                  เหนียวเคโอลิไนต์ (kaolinite) เป็นองค์ประกอบหลัก สอดคล้องกับ Dolinar and Skrabl (2013) ทําการศึกษา
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163