Page 160 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 160

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          138



                        3.3 ปริมาณขนาดอนุภาคดินและอินทรียวัตถุ กับค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติกในชั้นดินล่าง

                           จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง ดินเหนียว และ
                  อินทรียวัตถุ กับค่าขีดจํากัดของเหลวในชั้นดินล่าง (ตารางที่ 57) พบว่า ปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง
                  ดินเหนียว และอินทรียวัตถุ มีสหสัมพันธ์กับค่าขีดจํากัดของเหลวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยค่า

                  ขีดจํากัดของเหลวมีสหสัมพันธ์สูงในทางลบกับปริมาณอนุภาคขนาดทราย (r = - 0.809*, n = 166) ในขณะที่
                  มีสหสัมพันธ์ในทางบวกกับปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้ง (r = 0.551*, n = 166) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
                  สูงกับปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว (r = 0.822*, n = 166) และมีสหสัมพันธ์ในทางบวกกับปริมาณ
                  อินทรียวัตถุ (r = 0.155*, n = 166)


                           เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง ดินเหนียว และอินทรียวัตถุ
                  กับค่าดัชนีพลาสติกในชั้นดินล่าง พบว่า ปริมาณอนุภาคขนาดทรายมีสหสัมพันธ์ทางลบในระดับที่สูงกับ
                  ค่าดัชนีพลาสติกในชั้นดินล่าง (r = - 0.769*) ในขณะที่ปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้ง และดินเหนียว
                  กลับมีสหสัมพันธ์ในทางบวกกับค่าดัชนีพลาสติกในชั้นดินล่าง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ

                  0.565* และ 0.758* ตามลําดับ ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุไม่มีสหสัมพันธ์กับค่าดัชนีพลาสติก แสดงความสัมพันธ์
                  ของปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง ดินเหนียว และอินทรียวัตถุ มาทํานายค่าขีดจํากัดของเหลว คือ
                  LL = -70.699+0.737(%sand)+0.998(%silt)+1.673(%clay)+0.044(%OM)  และค่าดัชนีพลาสติก  คือ
                  PI = -87.579+0.831(%sand)+1.049(%silt)+1.299(%clay)-0.004(%OM) (ตารางที่ 58)

                           ผลการศึกษาการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสมการในข้างต้น พบว่า ประสิทธิภาพของสมการใน

                  การทํานาย เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติกในชั้น
                                                                                                     2
                  ดินล่างที่วิเคราะห์ได้ในห้องปฏิบัติการ กับค่าที่ได้จากการทํานาย มีค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ (R ) เท่ากับ
                  0.701 และ 0.566 ตามลําดับ ชี้ให้เห็นว่า สมการที่พัฒนาในข้างต้นมีความน่าเชื่อถือในการทํานาย 70.1 และ
                  56.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ (ภาพที่ 27)


                           เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในแต่ละช่วงความลึกของดินตามชั้นกําเนิดดิน จะเห็นว่า ระดับ
                  ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอนุภาคขนาดทราย และทรายแป้ง กับค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก
                  ในชั้นดินล่าง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงกว่าความสัมพันธ์ตลอดหน้าตัดดิน และในชั้นดินบน ตามลําดับ
                  นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ของปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวกับค่าขีดจํากัดของเหลวมีค่าสูง โดยเฉพาะที่ช่วง

                  ชั้นดินบน ความสัมพันธ์ดังกล่าวชี้ว่า การเชื่อมยึดระหว่างปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว และส่วนของ
                  อินทรียวัตถุส่งผลให้ค่าขีดจํากัดของเหลวเพิ่มขึ้น
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165