Page 156 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 156

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          134



                  3. การหาความสัมพันธ์และการเปรียบเทียบสมบัติของดิน

                        จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและการกระจายของขนาดอนุภาคทราย ทรายแป้ง
                  ดินเหนียว และอินทรียวัตถุ กับค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติกตลอดหน้าตัดดิน (0-200 เซนติเมตร)

                  ชั้นดินบน และชั้นดินล่างของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อประเมินสมบัติของ
                  อนุภาคดินในการคาดคะเนค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก โดยการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง
                  สมบัติของดิน และสมการถดถอยเชิงเส้น มีรายละเอียด ดังนี้

                        3.1 ปริมาณขนาดอนุภาคดินและอินทรียวัตถุ กับค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติกตลอด

                  หน้าตัดดิน

                           ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว มีสหสัมพันธ์กับค่าขีดจํากัด
                  ของเหลว และค่าดัชนีพลาสติกตลอดหน้าตัดดินอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุ
                  มีสหสัมพันธ์กับค่าขีดจํากัดของเหลว แต่ไม่มีสหสัมพันธ์กับค่าดัชนีพลาสติก ดังตารางที่ 53 โดยปริมาณ

                  อนุภาคขนาดดินเหนียว และทรายแป้งมีสหสัมพันธ์ในทางบวกกับค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก
                  และจะเห็นว่า ปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวมีสหสัมพันธ์กับค่าขีดจํากัดของเหลว (r = 0.838*, n = 213)
                  และค่าดัชนีพลาสติก (r = 0.780*, n = 213) ซึ่งสูงกว่าปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้งที่มีความสัมพันธ์ใน
                  ระดับที่ต่ํากว่า (r = 0.506* และ 0.508* ตามลําดับ) ผลนี้สะท้อนให้เห็นว่า ดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว

                  เป็นองค์ประกอบอยู่สูงย่อมส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก โดยเฉพาะค่า
                  ขีดจํากัดของเหลว เช่น ชุดดินบุรีรัมย์ เชียงคาน ชุมแพ จัตุรัส กันทรวิชัย เขมราฐ เลย นครพนม พล ปลาปาก
                  สูงเนิน ศรีสงคราม ท่าตูม และวังไห ซึ่งปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวมีความสัมพันธ์กับค่าขีดจํากัดของเหลว
                  มากกว่าค่าดัชนีพลาสติก


                           นอกจากนี้ ยังพบว่า ปริมาณอนุภาคขนาดทรายมีความสัมพันธ์ในทางลบกับค่าขีดจํากัดของเหลว
                  (r = - 0.800*, n = 213) และค่าดัชนีพลาสติก (r = - 0.760**, n = 213) ผลนี้ชี้ว่า ดินที่มีอนุภาคขนาดทราย
                  เป็นองค์ประกอบสูงมีผลทําให้ค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติกของดินลดลง เช่น ชุดดินบ้านไผ่
                  จันทึก มหาสารคาม น้ําพอง และอุบล ทั้งนี้ สามารถใช้สมการถดถอยเชิงเส้น แสดงความสัมพันธ์ของ

                  ปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง ดินเหนียว และอินทรียวัตถุมาทํานายค่าขีดจํากัดของเหลว คือ
                  LL = -96.280+0.990(%sand)+1.150(%silt)+1.999(%clay)+0.072(%OM) และค่าดัชนีพลาสติก คือ
                  PI = -104.365+1.004(%sand)+1.141(%silt)+1.511(%clay)+0.005(%OM) (ตารางที่ 54)

                           ผลการศึกษาการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสมการในข้างต้น ด้วยการปรับปรุงความถูกต้อง
                  (validated) พบว่า ประสิทธิภาพของสมการในการทํานาย เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างค่า

                  ขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติกที่วิเคราะห์ได้ในห้องปฏิบัติการ กับค่าที่ได้จากการทํานาย มีค่า
                                            2
                  สัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ (R ) เท่ากับ 0.717 และ 0.589 ตามลําดับ ชี้ให้เห็นว่า สมการที่พัฒนาในข้างต้นมี
                  ความน่าเชื่อถือในการทํานาย 71.7 และ 58.9 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ (ภาพที่ 25)


                           สอดคล้องกับ Seybold et al. (2008) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอนุภาคขนาดทราย
                  ทรายแป้ง และดินเหนียว กับค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก พบว่า ปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว
                  มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
                  เท่ากับ 0.838* และ 0.610* ตามลําดับ และพบสหสัมพันธ์ทางลบระหว่างส่วนปริมาณอนุภาคขนาดทรายกับ

                  ค่าขีดจํากัดของเหลวและค่าดัชนีพลาสติก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.377* และ 0.454*
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161