Page 153 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 153

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          131



                        2.11 ความเหมาะสมของดินสําหรับการใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน

                           การประเมินความเหมาะสมนี้ ยึดตามข้อมูลจากชุดดินตัวแทนหลัก ซึ่งกรณีชุดดินที่มีหลายชั้นความ
                  ลาดชัน จะยึดถือตามความลาดชันที่เป็นหลักของชุดดินนั้น ดังนี้ ชุดดินด่านซ้าย และภูเรือ จะใช้ความลาดชัน
                  5 - 12 เปอร์เซ็นต์เป็นเกณฑ์ หากต้องการทราบความเหมาะสมของชุดดินที่อยู่บนความลาดชันแตกต่างไป

                  สามารถตรวจสอบได้จากตารางภาคผนวกที่ 18 หรือประเมินใหม่ตามหลักเกณฑ์การประเมินความเหมาะสม
                  ทางด้านปฐพีกลศาสตร์ จากผลการจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินสําหรับการใช้
                  ยานพาหนะในฤดูฝน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

                             1) ดินที่มีความเหมาะสมดี (1) สําหรับการใช้ยานพาหนะในฤดูฝน ได้แก่ ชุดดินชุมพลบุรี ชุมพวง
                  จอมพระ ห้วยแถลง โคราช โพนพิสัย ปลาปาก ปักธงชัย สีคิ้ว วาริน ยางตลาด และยโสธร (ตารางที่ 52)

                  ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย และดินปนชิ้นส่วนหยาบ เป็นสมบัติที่ทําให้เส้นทางการใช้ยานพาหนะ
                  ในพื้นที่การเกษตรแน่นทึบ และไม่ลื่นไถล เนื่องจากเป็นดินที่มีศักยภาพในการยืดและหดตัวของดินต่ํา

                             2) ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องเนื้อดิน (2s) ได้แก่ ชุดดินเชียงคาน ชํานิ
                  เลย สูงเนิน ธาตุพนม และวังสะพุง เนื่องจากชุดดินดังกล่าวมีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย

                  ดินร่วนเหนียว และดินเหนียวปนทราย ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องความลาดชัน (2t)
                  ซึ่งพบอยู่ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน 8 - 15 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ชุดดินด่านซ้าย ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง
                  มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินค่อนข้างเลว (2d) ได้แก่ ชุดดินบุณฑริก เขมราฐ นาดูน พล ร้อยเอ็ด
                  และเรณู ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว และมีความ

                  ลาดชัน 8 - 15 เปอร์เซ็นต์ (2st) ได้แก่ ชุดดินภูเรือ

                             3) ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องเนื้อดิน (3s) มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนทรายแป้ง
                  ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วนที่มีความหนามากกว่า 30 เซนติเมตร ได้แก่ ชุดดิน
                  บ้านไผ่ บุรีรัมย์ จัตุรัส จันทึก มหาสารคาม น้ําพอง นครพนม โนนไทย ท่าอุเทน อุบล และวังไห ดินไม่เหมาะสม

                  มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินเลว (3d) ได้แก่ ชุดดินชุมแพ และท่าตูม ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดใน
                  เรื่องเนื้อดิน และการระบายน้ําของดินเลว (3sd) ได้แก่ ชุดดินกันทรวิชัย และศรีสงคราม (ภาพที่ 24)

                  ตารางที่ 52 ความเหมาะสมของดินสําหรับการใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝนของดินตัวแทนหลัก

                       ระดับความเหมาะสม        ข้อจํากัด       สัญลักษณ์              ชุดดิน

                       เหมาะสมดี         -                        1      ชุมพลบุรี ชุมพวง จอมพระ ห้วยแถลง
                                                                         โคราช โพนพิสัย ปลาปาก ปักธงชัย สีคิ้ว

                                                                         วาริน ยางตลาด ยโสธร
                       เหมาะสมปานกลาง    ดินร่วน ดินร่วนเหนียว    2s     เชียงคาน ชํานิ เลย สูงเนิน ธาตุพนม
                                         ปนทราย ดินร่วนเหนียว            วังสะพุง

                                         ดินเหนียวปนทราย
                                         ความลาดชัน 8 – 15%       2t     ด่านซ้าย


                                         การระบายน้ําของดิน      2d      บุณฑริก เขมราฐ นาดูน พล ร้อยเอ็ด เรณู
                                         ค่อนข้างเลว
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158