Page 19 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ในประเทศไทยได้มีผู้ศึกษาวิจัยระบอบความชื้นดินและการคาดคะเนโดยอาศัยปัจจัยที่

                       เกี่ยวกับสภาพพื้นที่ ระดับน้ าใต้ดิน การระบายน้ าของดิน ปริมาณและการกระจายของฝน รวมทั้งพืช
                       พรรณที่ขึ้นปกคลุม Moncharoen  และคณะ (1983) ได้สรุปว่าระบอบความชื้นดินที่พบในประเทศ

                       ไทยแบ่งออกเป็น เพอเรควิก (Peraquic) แอควิก (Aquic) ยูดิก (Udic) อัสติก (Ustic) และเพอรูดิก

                       (Perudic)  และมีบางบริเวณที่เป็นหน่วยสัมพันธ์ของดินในระบอบความชื้นแบบแอควิกกับอัสติก
                       แต่ระบอบความชื้นดินที่ใช้ในการจ าแนกดินมาจนถึงปัจจุบัน ยังแบ่งออกเป็นเพียง 3 แบบ คือ

                       แอควิก อัสติก และยูดิก (เฉลียว, 2530 (ข); Pisoot and Eswaran, 2002)


                               2.1  ระบอบความชื้นดินแอควิก

                               พบในบริเวณที่ราบต่ าและที่ราบลุ่มของภาคต่างๆ ในช่วงฤดูฝนมีน้ าขังหรือมีระดับน้ าใต้ดิน

                       อยู่ใกล้ผิวดิน สภาพความชื้นที่ดินอิ่มตัวด้วยน้ าเป็นระยะเวลานานจนเกือบไม่มีออกซิเจนที่ละลายน้ า

                       อยู่เลย เกิดสภาพรีดักชันขึ้นในดินท าให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของธาตุบางชนิด เช่น
                       เหล็ก และ แมงกานีส ท าให้หน้าตัดดินเกิดเป็นจุดสีประ ดินจะมีสีเทาหรือเทาอ่อน มีค่ารงค์

                       (Chroma) 2 หรือน้อยกว่า และค่าสี (Value) 4 หรือสูงกว่า ภายในความลึก 75 เซนติเมตร จากผิว
                       ดินบน ซึ่งแสดงว่ามีน้ าขังแฉะในหน้าตัดดินเป็นระยะเวลานานในรอบปี ดินที่อยู่ในสภาพนี้จะเป็นดินที่

                       มีการระบายน้ าค่อนข้างเลวและระบายน้ าเลว ใช้ประโยชน์ในการปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ และยังมีดิน
                       บางส่วนที่พบในที่แอ่งต่ า และบริเวณป่าชายเลน ซึ่งระดับน้ าใต้ดินอยู่ที่ผิวดิน หรือใกล้ผิวดินเกือบ

                       ตลอดทั้งปี สีของดินจะเป็นสีเทา เทาอ่อน หรือสีเทาปนน้ าเงิน สีเทาปนเขียว เกิดขี้นภายใน 50

                       เซนติเมตร จากผิวดิน เป็นดินที่มีการระบายน้ าเลวมาก ระบอบความชื้นดินเหล่านี้เรียกว่าเพอเรควิก


                               2.2  ระบอบความชื้นดินยูดิก

                               พบในบริเวณดินดอน (Upland soils) ตั้งแต่อ าเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลง

                       ไปยังภาคใต้ทั้งหมด และพบในภาคตะวันออกตั้งแต่อ าเภอแกลง จังหวัดระยอง ไปจนถึงจังหวัดตราด
                       ดินที่มีความชื้นในระบอบนี้จะพบในบริเวณที่ฝนตกชุก การกระจายของฝนค่อนข้างดีและสม่ าเสมอ

                       ดินจะไม่แห้งความชื้นดินในส่วนใดส่วนหนึ่งของช่วงควบคุมจะไม่แห้งนานถึง 90 วัน ในรอบปี ดินที่อยู่

                       ในระบออบความชื้นนี้จะเป็นดินที่มีการระบายค่อนข้างดีถึงดีเป็นส่วนใหญ่ การใช้ประโยชน์ที่ดินจะ
                       ปลูกยางพารา ปาล์มน้ ามัน และท าสวนผลไม้ นอกจากบริเวณที่กล่าวแล้วยังพบในภาคเหนือที่มีภูเขา

                       สูงและมีพืชพรรณขึ้นปกคลุมหนาทึบ และมีความสูงจากระดับน้ าทะเลเกินกว่า 1000 เมตร บางแห่ง

                       ดินจะมีความชื้นตลอดปีโดยเฉพาะดอยอินทนนท์ ดินจะมีระบอบความชื้นแบบเพอรูดิก


                               2.3  ระบอบความชื้นดินอัสติก

                               พบบริเวณที่ดินดอน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ที่ราบสูงตอนกลาง

                       และภาคตะวันตก ดินที่มีระบอบความชื้นนี้ดินจะแห้งนับรวมกันแล้วเกิน 90 วัน ในรอบปี ระดับน้ าใต้


                                                                                                         6
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24