Page 20 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                       ดินอยู่ลึกกว่า 75 เซนติเมตร จากผิวดินบนเกือบตลอดทั้งปี ดินมีการระบายน้ าค่อนข้างดีถึงดี

                       จนเกินไป ดังนั้นจะไม่ค่อยพบจุดสีประที่มีค่ารงค์ (Chroma)  ต่ าในระดับความลึก 75 เซนติเมตร
                       ขึ้นมา ถ้าพบก็มีเพียงเล็กน้อย การใช้ประโยชน์ที่ดิน ปลูกพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ถ้าไม่มีระบบชลประทาน

                       ช่วยดินที่มีระบอบความชื้นแบบนี้จะใช้ในการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งดินมีความชื้นไม่

                       เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช พืชจะเหี่ยวเฉาตายหรือให้ผลผลิตไม่ดี ยกเว้นพืชทนแล้ง


                       3.  วัตถุต้นก าเนิดดิน


                               วัตถุต้นก าเนิดดิน (Soil parent material) หมายถึง หินที่สลายตัวผุพังหรืออินทรียวัตถุซึ่ง
                       เป็นต้นก าเนิดของดิน โดยปกติจะอยู่ชั้นล่างสุดของดินที่เรียกชั้น C แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

                       คือ วัตถุที่เคลื่อนย้ายมาทับถมจากที่อื่น และวัตถุที่เป็นหินสลายตัวผุพัง (คณะกรรมการจัดท า

                       พจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551)

                               วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นปัจจัยหนึ่งที่ยอมรับกันมานานแล้วว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมลักษณะที่

                       ส าคัญของดิน ส าหรับวัตถุต้นก าเนิดดินในประเทศไทย สามารถแบ่งกลุ่มได้ตามสภาพของดิน ที่เกิดใน
                       ระบอบความชื้นต่าง ๆ กัน (เอิบ, 2533)


                               3.1  วัตถุต้นก าเนิดดินในระบอบความชื้นดินแอควิก


                               วัตถุต้นก าเนิดดินส่วนใหญ่เป็นตะกอนที่เคลื่อนย้ายมาทับถม โดยอิทธิพลของน้ าทะเลและ
                       ธารน้ า พบในบริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินและบริเวณที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเลที่มีอิทธิพลของน้ าขึ้น

                       ลง ในบริเวณที่พบวัตถุต้นก าเนิดดินแบบนี้ ดินมีพัฒนาการน้อย เป็นดินที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งแสดงอิทธิพล

                       ของลักษณะของตะกอนต่าง ๆ ชัดเจน นอกจากนี้ยังพบบางบริเวณในระบอบความชื้นดินนี้ที่มี
                       วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นวัสดุตกค้าง และวัสดุที่เคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วงของโลก หรือตะกอนดาด

                       เชิงเขารวมอยู่ด้วย ดินที่พบบริเวณนี้เป็นดินเก่ามีพัฒนาการดี แต่พบเป็นบริเวณน้อย ชนิดของ
                       วัตถุต้นก าเนิดดินในระบอบความชื้นดินแบบแอควิก และสัณฐานภูมิประเทศที่เกี่ยวข้อง แสดงใน

                       ตารางที่ 1


                               3.2  วัตถุต้นก าเนิดดินในระบอบความชื้นดินยูดิก


                               วัตถุต้นก าเนิดดินประกอบไปด้วยตะกอนที่ถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมในบริเวณชายหาด และ
                       เนินทราย (Beach  and  sand  dune  deposits)  เป็นตะกอนค่อนข้างหยาบของทราย โดยเฉพาะ

                       อย่างยิ่ง คือ แร่ควอร์ตซ์ เป็นต้น วัตถุต้นก าเนิดดินในกลุ่มนี้ยังรวมถึงตะกอนน้ าพา ในบริเวณที่มี
                       ธารน้ าไหลผ่าน ซึ่งอยู่ในบริเวณสันดินริมน้ า (Levee) และตะพักลุ่มน้ าต่างๆ ซึ่งเป็นตะกอนน้ าพาผสม

                       โดยทั่วไปที่ไม่สามารถชี้บ่งถึงแหล่งที่มาของตะกอนได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้เป็นตะกอนน้ าพา






                                                                                                         7
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25