Page 18 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                       จัดการดินได้ค่อนข้างง่าย มีพื้นที่รวม 43.45 ล้านไร่ ดินปัญหาที่พบประกอบด้วย ดินเปรี้ยวจัด ดิน

                       เค็มชายทะเล ดินเค็มบก ดินทราย และดินตื้น ภาคกลางมีดินที่เหมาะส าหรับข้าวประมาณ 8.83 ล้าน
                       ไร่ และมีความเหมาะสมส าหรับพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น ประมาณ 10.26 ล้านไร่


                               1.3  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


                              ส่วนใหญ่มีศักยภาพทางการเกษตรต่ า เนื่องจากมีข้อจ ากัดในเรื่องเนื้อดิน เช่น มีเนื้อดินเป็น
                       ทรายจัดหรือดินร่วนหยาบ ท าให้มีความจุในการอุ้มน้ าต่ า ดินตื้นหรือดินมีก้อนกรวดลูกรังปะปน

                       หนาแน่นในระดับตื้นถึงตื้นมาก ดินเค็มและพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากความเค็มของดิน

                       และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า มีพื้นที่รวม 105.53 ล้านไร่ ดินปัญหาที่พบประกอบด้วย ดินเค็มบก
                       ดินทราย และดินตื้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีดินที่เหมาะส าหรับข้าว ประมาณ 21.57 ล้านไร่ และ

                       มีความเหมาะสมส าหรับพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้นทั่วไป ประมาณ 44.10 ล้านไร่


                               1.4  ภาคตะวันออก

                              เป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรต่ าถึงปานกลาง คล้ายคลึงกับทรัพยากรดินภาคใต้ มีพื้นที่

                       รวม 21.49 ล้านไร่ ดินปัญหาที่พบประกอบด้วย ดินเปรี้ยวจัด ดินเค็มชายทะเล ดินทราย และดินตื้น

                       ภาคตะวันออกมีดินที่เหมาะสมส าหรับข้าว ประมาณ 2.75 ล้านไร่ และมีความเหมาะสมส าหรับพืชไร่
                       ไม้ผล และไม้ยืนต้นทั่วไป ประมาณ 6.60 ล้านไร่


                               1.5  ภาคใต้


                              ปริมาณฝนตกชุกและต่อเนื่องนานในรอบปี มีการชะล้าง น าพาหรือชะละลายธาตุอาหาร
                       ออกไปจากดินสูงและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า  แต่เนื่องจากดินมีความชื้นค่อนข้างสม่ าเสมอท าให้

                       เหมาะสมในการเพาะปลูกพืชประเภทไม้ผลและไม้ยืนต้น จึงท าให้มีปัญหาทางการเกษตรน้อยกว่า

                       ภูมิภาคอื่นๆ มีพื้นที่รวม 44.20 ล้านไร่ ดินปัญหาที่พบ ประกอบด้วย ดินเปรี้ยวจัด ดินเค็มชายทะเล
                       ดินทราย และดินตื้น ภาคใต้มีดินที่เหมาะสมส าหรับข้าว ประมาณ 4.59 ล้านไร่ และมีความเหมาะสม

                       ส าหรับพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้นทั่วไป ประมาณ 16.17 ล้านไร่


                       2.  ระบอบความชื้นดิน


                               ระบอบความชื้นดิน (Soil  moisture  regime) หมายถึง สภาพความชื้นดินโดยพิจารณา

                       จากการมีหรือไม่มีน้ าใต้ดิน หรือน้ าในชั้นใดชั้นหนึ่งในดินที่ถูกยึดไว้ด้วยแรงน้อยกว่า 1,500 กิโลพาส
                       คัล ในช่วงควบคุมความชื้น ซึ่งสามารถให้พืชเจริญเติบโตได้ตามธรรมชาติ ในระบบอนุกรมวิธานดินได้

                       แบ่งระบอบความชื้นดินไว้ดังนี้ แอควิก (Aquic) แอริดิก (Aridic) หรือ ทอร์ริก (Torric) ยูดิก (Udic)

                       อัสติก (Ustic) และเซอริก (Xeric) (คณะกรรมการจัดท าพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551)




                                                                                                         5
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23