Page 14 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                             บทน า



                               เครื่องเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนส์ (X-ray fluorescence spectrometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้

                       ในการวิเคราะห์หาปริมาณธาตุองค์ประกอบในตัวอย่าง ผลที่ได้คือ ปริมาณรวม (Total  content)

                       บางครั้งเรียกว่า ปริมาณทั้งหมดของธาตุในตัวอย่าง เป็นการใช้เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ (X-ray
                       fluorescence) โดยการวิเคราะห์นี้น าเอาลักษณะประจ าตัวของเส้นเอกซเรย์ (Characteristic x-ray

                       spectral  line)  ของธาตุต่างๆ มาใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งในเชิงคุณภาพ  (Qualitative) และ

                       ปริมาณ (Quantitative)  โดยการวัดความเข้ม (Intensity)  ของปริมาณรังสีเอกซ์ฟลูออเรสเซนต์ที่
                       ปลดปล่อยออกมาจากธาตุองค์ประกอบแต่ละชนิดในตัวอย่าง


                               ส าหรับงานวิเคราะห์ด้านวิทยาศาสตร์ทางดิน การวิเคราะห์โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวก  และ
                       รวดเร็ว ผลวิเคราะห์มีความถูกต้อง และความแม่นย าสูง ธาตุที่ท าการวิเคราะห์ประกอบด้วย 12 ธาตุ

                       คือ ซิลิคอน (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก   (Fe) ไทเทเนียม (Ti) โซเดียม (Na) แมกนีเซียม (Mg)

                       โพแทสเซียม (K) แคลเซียม  (Ca) ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P) แมงกานีส  (Mn) และสังกะสี  (Zn)
                       เนื่องจากธาตุต่าง ๆ นี้มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบของหิน และแร่ เมื่อเกิดการสลายตัวผุพังจะ

                       หลงเหลืออยู่ในดิน และมีบางส่วนที่ชะละลายสูญหายไปจากดินมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปในแต่
                       ละธาตุ ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมที่วิเคราะห์ได้ จึงเปรียบเสมือนปริมาณธาตุอาหารส ารองหรือ

                       ต้นทุนทางธรรมชาติที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในดิน การศึกษาถึงองค์ประกอบ และการแจกกระจายของ

                       ธาตุเหล่านี้ในชุดดินหรือกลุ่มชุดดินในประเทศไทยเป็นประโยชน์ต่อนักปฐพีวิทยา นักธรณีวิทยา และ
                       นักส ารวจดิน เพื่อใช้ในการวินิจฉัย จ าแนกชนิด ประเภทของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินทาง

                       การเกษตร นอกจากนี้ ปริมาณธาตุอาหารหลัก (ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ธาตุอาหารรอง
                       (แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถัน) และจุลธาตุอาหาร (เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี) สามารถ

                       น าไปใช้ประโยชน์ในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งการคาดคะเนปัญหาของดิน

                       เนื่องจากธาตุบางธาตุถ้ามีอยู่มากโอกาสที่พืชจะน าไปใช้ประโยชน์ก็มีมากด้วย แต่ธาตุบางธาตุถ้ามีอยู่
                       มากเกินไปจะส่งผลกระทบในทางลบต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น อะลูมินัม เหล็ก แมงกานีส และ

                       โซเดียม

                               ด้านปฐพีกลศาสตร์หรือด้านวิศวกรรมใช้ดูการยืดและหดตัวของดินในการสร้างถนนหรือ

                       การสร้างเขื่อน โดยเฉพาะในดินเหนียวกระจายตัว (Dispersive soils หรือ Dispersive clay) ซึ่งส่วน

                       ใหญ่จะมีธาตุโซเดียมสูง เป็นต้น ส่วนธาตุอื่นๆ เช่น ซิลิคอน เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญในกลุ่มดินทราย
                       เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินที่มีเนื้อหยาบ มีความคงทนต่อการสลายตัวสูง ปริมาณซิลิคอนจะเป็น

                       ปฏิภาคผกผันกับอะลูมินัม กล่าวคือ  ถ้าซิลิคอนสูง อะลูมินัมจะมีค่าต่ า และถ้าอะลูมินัมมีค่าสูง
                       ซิลิคอนจะต่ า ส่วนไทเทเนียมจะเป็นธาตุที่พบอยู่เสมอในทุกหน้าตัดดิน (Soil profile) เป็นธาตุที่เป็น





                                                                                                         1
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19